ผู้ป่วยติดเตียง

         เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางสมาคมการค้าและการบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย (SHATA)  ร่วมกับ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันจัดงานมอบรางวัลให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติดังนี้ โดยแบ่งประเภทรางวัลออกเป็นดังนี้ ในงานนี้เองคุณไอซ์ “ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์” ผู้บริหารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์ ได้เป็นตัวแทนขึ้นรับรางวัลสถานประกอบการมาตรฐานดีเด่น Excellent Senior Service Award 2024  สาขา : คุณภาพการฟื้นฟู Best Clinical กับคุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของทีมงานวินเนสต์ทุกคน และเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการดูแล และการฟื้นฟู เพื่อยกระดับสังผู้สูงอายุไทยต่อไป
Read More
หัวข้อ รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความพิการและการเสียชีวิตที่สำคัญทั่วโลก แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงก็อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต และลดผลกระทบอาการของโรคได้ ดังนั้นการสังเกตอาการและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแล้วบางรายอาจมีอาการหรือความผิดปกติบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด ปัญหาด้านการรู้คิด ความจำ ความเครียด หรือซึมเศร้า อาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการกำเนินชีวิตอย่างที่เคยทำได้หรือทำได้อย่างยากลำบากส่งผลให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองต้องมีครอบครัว หรือผู้ดูแลให้การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในระยะยาว (long-term care) ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองดูแลอย่างไร ระยะแรกของการฟื้นตัวครอบครัวควรให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัวเองเป็นสำคัญ กำลังใจจากคนรอบข้างจะช่วยให้ผู้ป่วยมีแรงใจ และผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ การดูแลผู้ป่วยให้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ จำเป็นต้องให้ครอบครัวหรือญาติช่วยจัดท่าทางการนอนบนเตียงและเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ  2 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับคอยสังเกตอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด *เพิ่มรูปการจัดท่านอนบนเตียง แม้จะพ้นระยะวิกฤตไปแล้วการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากออกจากโรงพยาบาลก็ยังเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่ากัน ดังนั้นหากมีการเตรียมความพร้อมรับมือที่ดีกับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเมื่อได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้ว ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 7 ข้อ รับมือคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 1.  จิตใจ (mentality) หลังจากเกิดโรคผู้ป่วยบางรายอาจมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายจากสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงไปหรือบางรายมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากยอมรับไม่ได้ ครอบครัวจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการให้กำลังใจ และต้องเข้าใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง ครอบครัวควรแสดงความรัก ความห่วงใยผ่านคำพูดสีหน้าสายตา และการสัมผัสกับผู้ป่วยเพื่อแสดงออกว่าครอบครัวยังรัก พร้อมเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ และควรหลีกเลี่ยงการตำหนิ นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ชอบโดยเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำเอง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าสามารถทำได้ อย่างเป็นอิสระและมีความสุข เช่น การดูภาพยนตร์ร่วมกันออกไปเที่ยวกับครอบครัว […]
Read More
การจัดท่า และวิธีพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลจัดท่านอนที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาอีกมาก ทั้งแผลกดทับ ข้อติด กล้ามเนื้อลีบ การจัดท่านอนและพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยติดเตียงอย่างเหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ทุกส่วนของร่างกายได้ผ่อนคลาย รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย ผู้ป่วยติดเตียงคืออะไร ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เองตามปกติ เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ความพิการ หรือวัยชรา ซึ่งต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาและพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวันทั้งหมด เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ขับถ่าย โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมา เช่น แผลกดทับ ปอดอักเสบ ข้อติด กล้ามเนื้อลีบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ความสำคัญของการจัดท่าให้กับผู้ป่วยติดเตียง การจัดท่าให้ผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธีมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ – ป้องกันแผลกดทับ: ช่วยกระจายแรงกดจากน้ำหนักตัวไม่ให้กดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่งนานเกินไป  – รักษาระบบทางเดินหายใจ: การนอนหงายตลอดทำให้เสมหะคั่งในปอด เพิ่มความเสี่ยงของปอดอักเสบ  – ป้องกันข้อติด: การนอนงอขาหรือเหยียดขานานๆ น้ำไขข้อจะแห้ง ทำให้เกิดอาการข้อติดแข็งได้ง่าย – ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ: การขยับพลิกตะแคงตัวจะกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อไม่ให้ลีบเล็กลง – เพิ่มความสุขสบาย: ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เปลี่ยนท่าทางบ้าง ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า ผลเสียของการนอนในท่าเดิมนาน ๆ ของผู้ป่วยติดเตียง การนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานเกิน 2 ชั่วโมงนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ปอดอักเสบ […]
Read More
ความดันตํ่าเป็นภาวะที่อาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ มาศึกษาเกี่ยวกับภาวะนี้ว่าอะไรคืออาการ สาเหตุ และแนวทางการรักษากัน
Read More
หลังจากการผ่าตัด การฟื้นตัวที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ดังรายละเอียดในบทความต่อไปนี้
Read More
เพราะเมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลง การปรับสภาพบ้านให้เหมาะจึงเป็นสิ่งสำคัญ วินเนสต์แนะนำทุกท่านที่มีผู้สูงอายุที่บ้าน เรียนรู้วิธีปรับสภาพบ้าน เพื่อความปลอดภัยกันค่ะ
Read More
Golden period คืออะไร ? สำคัญอย่างไรต่อการฟื้นฟูในผู้ป่วยสโตรก หากเลยช่วงเวลาทองสำหรับการฟื้นฟูจะเป็นอย่างไร ตามหาคำตอบได้ที่นี่
Read More
เพราะผู้ดูแลถือเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้ป่วย จึงอาจเกิดภาวะหมดไฟได้ง่าย ๆ จะทำอย่างเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในผู้ดูแล ติดตามเนื้อหาภายในได้เลย
Read More
โรคหัวใจเป็นหนึ่งใน 6 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต คุณไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยการดูแลหัวใจ วินเนสต์จึงอยากเชิญชวนผู้สูงอายุและผู้ดูแลทุกท่านหันกลับมาดูแลหัวใจของคุณ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ
Read More
แผลกดทับที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการขยับตัวที่น้อยลงในผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลจะช่วยดูแล และรักษาแผลกดทับได้อย่างไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม..
Read More
ครอบครัว WiN HealthCare Group เริ่มต้นกิจการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2538 พัฒนาระบบทั้งด้านการบริหารจัดการและการดูแลผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ พร้อมให้บริการผู้สูงอายุทุกท่าน
Read More
เพราะคนส่วนใหญ่มักหายใจอย่างผิดวิธี จนส่งผลเสียต่อร่างกาย บทความนี้วินเนสต์มีวิธีฝึกหายใจที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้านมาแนะนำกัน
Read More
Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down