โรคหัวใจเป็นหนึ่งใน 6 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต คุณไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยการดูแลหัวใจ วินเนสต์จึงอยากเชิญชวนผู้สูงอายุและผู้ดูแลทุกท่านหันกลับมาดูแลหัวใจของคุณ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ
หัวข้อ
โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก สถิติจากองค์การอนามัยโลกรายงานว่า พบการเสียชีวิตจากโรคหัวใจมาเป็นอันดับจากสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และในประเทศกำลังพัฒนาจะพบการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจได้สูงมาก ประเทศไทยของเรามีสถิติการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น และมีจำนวนการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุสำคัญอันเนื่องมาจากการดำเนินวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ รูปแบบการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโรคหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
โรคหัวใจ มีหลายชนิด อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจถี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้ามีสีเขียวคล้ำ อาการเหล่านี้เป็นอาการบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจมีปัญหาโรคหัวใจ โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นของโลก ซึ่งหลายคนอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว
หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าเป็นโรคหัวใจ นอกจากจะปฏิบัติตามการรักษา เช่น การทานยา หรือการผ่าตัดแล้ว ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือระวังการดำเนินชีวิตที่เป็นความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการอยู่กับโรคหัวใจ
ข้อควรระวังอย่างแรกที่สำคัญมากคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารไขมันสูง เลี่ยงอาหารรสจัด ลดอาหารที่มีโซเดียมสูง และลดการทานอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป เช่น ฟาสฟู้ด อาหารแปรรูป จำพวกไส้กรอก ของทอด ของมัน เบเกอรี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรเพิ่มการทานผักผลไม้ ทานเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อย เช่น ปลาทะเล ปลาทู ผ่านการทำอาหารโดยการ ต้ม นึ่ง ตุ๋น ยำ หรือผัดโดยใช้น้ำมันน้อย ลดการปรุง เรื่องอาหารการกินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง
หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องออกแรงหนัก แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยแนะนำถึงความหนักเบาในการออกกำลังกาย โดยทั่วไปการออกกำลังควรมีการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดก่อนเสมอด้วยการ สถานที่ออกกำลังไม่ควรร้อนหรืออบอ้าว ควรจิบน้ำก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกายเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไป ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายคือผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกและท้อง ไม่กลั้นหายใจระหว่างออกกำลังกาย ชนิดการออกกำลังกาย เช่น เดินลู่วิ่ง เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น
ข้อควรระวังที่สำคัญคือผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรให้หัวใจทำงานหนัก แน่นอกว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก การเลิกบุหรี่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจได้ การดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องจะทำให้ความดันสูงขึ้น ไขมันและน้ำตาลสูงขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้
ความเครียดและภาวะซึมเศร้าอาจเกิดได้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจเป็นโรคที่ถือเป็นภัยคุกคามถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงเกิดความวิตกกังวลได้ง่าย อีกทั้งยังต้องต้องเผชิญกับร่างกายที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทำงานได้ดีดังเดิม ต้องปรับวิถีชีวิตการดูแลตนเอง ความเครียดหรือการวิตกกังวลนี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่สนใจดูแลตนเอง
การดูแลเรื่องจิตใจจึงสำคัญไม่แพ้อาการทางกาย ญาติจึงต้องคอยกำกับดูแลให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหัวใจ พาออกกำลังตามแพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายและการพาทำกิจกรรมจะช่วยลดความเครียดได้อย่างดี
อาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หายใจลำบาก เวียนศีรษะ เป็นลม ชาที่ขาหรือแขน แขนขาบวม และเหนื่อยล้า หากเกิดอาการเหล่านี้ผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้ดูแลสามารถสังเกตได้เองเพื่อการรักษาทางการแพทย์ได้ทันท่วงที
แนวทางการรักษา จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจในแต่ละราย
ผู้ป่วยผ่าตัดโรคหัวใจในระยะหลังผ่าตัดจะมีการบาดเจ็บจากกระบวนการผ่าตัด ประสิทธิภาพการหายใจลดลง ผู้ป่วยผ่าตัดมักได้รับยาขับปัสสาวะอาจทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของสารในร่างกาย เกิดการปวดแผลผ่าตัด
ด้วยอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยผ่าตัดจึงควรได้รับการดูแลโดยสหวิชาชีพทางแพทย์ อันได้แก่ แพทย์ พยาบาล เพื่อให้การความรู้และการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมหลังการผ่าตัด รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติในเวลาอันสั้น ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การออกกำลังอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้
Winest ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัด มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ครบทีม ได้แก่ พยาบาลประจำศูนย์ที่จะตรวจประเมินค่าสัญญาณชีพและอาการของผู้ป่วยในแต่ละวันและจัดการบริหารการใช้ยาของผู้ป่วย มีนักกายภาพบำบัดลดปวดแผลผ่าตัดและกระตุ้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย มีนักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์และจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตามการบกพร่องของผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ
เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096
กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล
เอกสารอ้างอิง