ความดันตํ่าในผู้สูงอายุ: สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:

ความดันตํ่าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และอาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ บทความนี้จึงจะอธิบายข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับภาวะนี้ว่าอะไรคืออาการ สาเหตุ และแนวทางการรักษาอาการความดันตํ่า เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสามารถจัดการกับภาวะนี้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด


ความดันคืออะไร

ความดันหรือความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ประกอบด้วยค่าความดันตัวบน (Systolic pressure) และความดันตัวล่าง (Diastolic pressure) โดยค่าความดันปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท (mmHg)

ความดันโลหิตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

เนื่องจากความดันโลหิตมีบทบาทสำคัญในการนำส่งเลือด ออกซิเจน และสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ ดังนั้นเมื่อความดันต่ำเกินไป เลือดจะไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสําคัญไม่เพียงพอ ทําให้ขาดออกซิเจนและสารอาหาร จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือเป็นลม ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะช็อกและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ความดันตํ่า คืออะไร และเมื่อไหร่ถึงเรียกว่าความดันต่ำ

ความดันตํ่าหรือภาวะความดันโลหิตตํ่า (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตลดลงตํ่ากว่าระดับปกติ โดยจะวินิจฉัยว่าความดันต่ำเมื่อ

– ความดันโลหิตตัวบน (Systolic) ตํ่ากว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ

– ความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ตํ่ากว่า 60 มิลลิเมตรปรอท

ทั้งนี้จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น อาการเวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น สับสน หรือเป็นลม

สาเหตุของความดันตํ่าในผู้สูงอายุ

ความดันตํ่าในผู้สูงอายุมีสาเหตุที่เกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ดังนี้

ความดันตํ่าแบบเฉียบพลัน

1. ภาวะอ่อนแอของร่างกาย (Debility) หรือการพักฟื้นไม่เพียงพอ

2. ภาวะขาดนํ้า (Dehydration) จากการดื่มนํ้าน้อย ท้องเสีย หรืออาเจียน เป็นต้น

3. การติดเชื้อในกระแสเลือด ทําให้หลอดเลือดขยายตัว

4. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือโรคหัวใจล้มเหลว

ความดันต่ำแบบเรื้อรัง

1. โรคประจําตัว เช่น โรคหัวใจ โรคต่อมหมวกไต โรคตับแข็ง โรคพาร์กินสัน เป็นต้น

2. ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยาต้านเศร้า ยาขยายหลอดเลือด  

3. ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหารที่จําเป็น

อาการของภาวะความดันตํ่า

อาการที่พบได้บ่อย เช่น

– วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด

– ใจสั่น หายใจถี่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

– หมดสติ เป็นลม

– ปัสสาวะออกน้อย ปัสสาวะมีสีเข้มผิดปกติ  

– ผิวหนังซีด เย็น ชา

– สับสน ปวดศีรษะ

– คลื่นไส้ อาเจียน

อันตรายของอาการความดันตํ่า

– หกล้ม กระดูกหัก เนื่องจากวูบหรือหมดสติ

– เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือทํากิจกรรมต่าง ๆ อยู่แล้วหมดสติ หรือเวียนหัว

– สมองขาดเลือด นําไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบ อัมพาต หรือภาวะสมองเสื่อม

– ภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น

– ไตวายเฉียบพลัน

– เสียชีวิต

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ

สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยา

การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม (ไม่ใช้ยา)

สามารถทำได้ ดังนี้

– ดื่มนํ้าให้เพียงพอ วันละ 1.5-2 ลิตร 

– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

– งดสูบบุหรี่

– ปรับเปลี่ยนท่าทางช้า ๆ เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด

– นอนหัวต่ำกว่าลำตัวประมาณ 10-15 องศา หรือนอนหัวราบ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมอง 

– ลุกขึ้นยืนหรือเดินอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะตอนตื่นนอน  

– ออกกําลังกาย เช่น เดินหรือร่วมกิจกรรมสันทนาการ

การรักษาโดยการใช้ยา

แพทย์อาจพิจารณาให้ยา หรือปรับยาที่ใช้อยู่ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เช่น

– ยาเพิ่มความดันโลหิต เช่น Midodrine, Fludrocortisone  

– สารนํ้าทดแทนทางหลอดเลือดดํา 

– ยารักษาโรคประจําตัว เช่น ยาหัวใจ ยาต้านการติดเชื้อ

– ปรับลดขนาดยาลดความดันโลหิตที่ใช้ประจํา

การป้องกันอาการความดันต่ำ

อาการความดันต่ำในผู้สูงอายุ สามารถป้องกันได้โดย

– ตรวจสุขภาพประจําปี และสังเกตความผิดปกติของความดันอยู่เสมอ

– ควบคุมโรคประจําตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ 

– ดื่มนํ้าให้เพียงพอ วันละ 1.5-2 ลิตรหรือ 6-8 แก้วต่อวัน

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

– ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน ว่ายนํ้า โยคะ ไทเก๊ก

– หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนจัด 

– พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด

– ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการซื้อยาหรือสมุนไพรมาทานเอง

การวัดสัญญาณชีพที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์

ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์มีระบบการวัด สัญญาณชีพผู้ป่วยโดยผู้ดูแลประจำศูนย์ สัญญาณชีพที่วีดได้แก่ ความดัน อัตราเต้นของหัวใจ การหายใจ อุณหภูมิในร่างกายและค่าออกซิเจนในเส้นเลือด หากพบความผิดปกติชองสัญญาณชีพจะแจ้งพยาบาลประจำศูนย์ทราบ และทำการวัดซ้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นจะมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและติดตามอาการต่อเนื่องจนกว่าจะปกติ หากพบผู้ป่วยที่มีความดันต่ำจะให้นอนราบ และกระตุ้นให้จิบน้ำมาก ๆ สังเกตอาการณ์จนกว่าจะปกติ

สรุป

ความดันโลหิตตํ่าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้ม ภาวะสมองขาดเลือด หัวใจหยุดเต้น และหากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลควรให้ความสําคัญต่อการป้องกัน และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถป้องกันอันตรายจากอาการความดันต่ำได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

กบ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

Ref.

  1. wan Lim, T., Kim, H. J., Lee, J. M., Kim, J. H., Hong, D. M., Jeon, Y., … & Bahk, J. H. (2011). The head-down tilt position decreases vasopressor requirement during hypotension following induction of anaesthesia in patients undergoing elective coronary artery bypass graft and valvular heart surgeries.European Journal of Anaesthesiology (EJA)28(1), 45-50.

บทความก่อนหน้า >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down