การเป็นผู้สูงวัยมักพบอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องโภชนาการผู้สูงอายุ
หลายท่านที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมักเจอปัญหาคล้ายกันคือ ผู้สูงอายุจะกินยาก ทานอะไรก็ไม่อร่อยเหมือนเดิม เบื่ออาหาร หรือบางรายอาจถึงขั้นกลืนอาหารลำบาก ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการผู้สูงอายุเหล่านี้ล้วนเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อที่มีความสามารถในการเคี้ยวและการกลืน รวมไปถึงความสามารถในการย่อยอาหารของผู้สูงอายุลดลง
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่จำเป็นน้อยลง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดสารอาหารและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา อันเนื่องมาจากปัญหาโภชนาการผู้สูงอายุ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักลดลง และความเปราะบางของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่งผลถึงการเคลื่อนไหว การทรงท่าทาง และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ
ดังนั้นการศึกษาเรื่องโภชนาการผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นสำหรับผู้ดูแลและญาติของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นการจัดอาหารที่เหมาะสมจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถในการเคี้ยวและส่งเสริมด้านโภชนาการผู้สูงอายุได้ ในบทความนี้จะกล่าวถึงสารอาหารที่จำเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับ รวมถึงการบริหารเพื่อช่วยในการเคี้ยวและกลืน และการดูแลขั้นพื้นฐานด้านโภชนาการผู้สูงอายุ
สารอาหารที่เหมาะสมสำหรับโภชนาการผู้สูงอายุยังคงควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบทั้งห้าหมู่อาหารเพื่อชะลอความเสื่อมถอยของกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงปัญหาระบบย่อยอาหาร แต่ควรลดอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรตลงเพราะให้พลังงานสูงเกินไป ผู้สูงอายุชายและหญิงต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี/วัน
สารอาหารที่เหมาะสมสำหรับโภชนาการผู้สูงอายุที่ควรได้รับ ได้แก่
เรื่องโภชนาการผู้สูงอายุนั้นสิ่งสำคัญคือรูปแบบของอาหาร วิธีการทำอาหารและวิธีการทานอาหารของผู้สูงอายุ อาหารของผู้สูงอายุควรเคี้ยวได้ง่าย จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารและย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ได้แก่
ดังนั้นเพียงแค่การเลือกสารอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการด้านพลังงานในผู้สูงอายุ รวมถึงปรับวิธีการทำอาหาร ปรับให้อาหารมีความอ่อนนุ่มเคี้ยวง่าย กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทานอาหารช้า ๆ และคำเล็กลง เพียงเท่านี้ก็เป็นการส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุในเบื้องต้นแล้ว
ผู้สูงอายุจะพบการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหารเนื่องจากอายุที่มากขึ้น เกิดภาวะกลืนลำบากได้ส่งผลต่อปัญหาโภชนาการผู้สูงอายุ การบริหารกล้ามเนื้อในการกลืนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกลืนทำงานได้ดีขึ้น ท่าทางการบริหารมีดังนี้
ท่าที่ 1 ก้มศีรษะและเงยขึ้นช้า ๆ ทำ 3-5 ครั้ง แต่ละท่าค้างไว้ 5 วินาที
ท่าที่ 2 หันศีรษะไป ซ้าย ขวา ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 3 ยกไหล่ขึ้น-ลง 2 ข้างพร้อมกัน ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 1 ยิ้มเหยียดริมฝีปากจนสุดและหุบปาก ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 2 ออกเสียง “อา” ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 3 ออกเสียง “อี” สลับ “อู” ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 1 แลบลิ้นเข้าและออกตรง ๆ ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 2 ย้ายลิ้นไปกระพุ้งแก้มซ้ายและขวาค้างไว้ข้างละ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 3 เอาลิ้นแตะมุมปากซ้ายและขวา ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 1 อ้าปากค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 2 ขยับขากรรไกรไปด้านซ้ายและขวา ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 1 ให้นำลูกบอลนิ่มหรือม้วนกระดาษชำระ มาวางใต้คางและให้ผู้ป่วยหนีบลูกบอลเอาไว้ โดยไม่ต้องใช้มือจับ
ท่าที่ 2 ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างวางใต้คาง อ้าปากดันสู้กับนิ้วหัวแม่มือเกร็งค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ผู้ที่มีอาการกลืนลำบาก เช่น กลืนยากเหมือนมีอาหารติดคอ มีไอ สำลักหรือเสียงเปลี่ยนขณะกินอาหารหรือน้ำ น้ำไหลออกปากบ่อย ๆ เกิดปอดอักเสอหรือติดเชื้อบ่อย ๆ หากมีอาการเหล่านี้ อาจสงสัยว่าผู้สูงอายุกำลังเผชิญกับภาวะกลืนลำบาก จึงควรพบแพทย์เพื่อประเมินเรื่องโภชนาการผู้สูงอายุ และฝึกกระตุ้นการกลืนกับนักกิจกรรมบำบัดและนักแก้ไขการพูด เพื่อฝึกท่าทางการบริหารเพิ่มเติมและเจาะจงเฉพาะบุคคลให้มากขึ้นนอกเหนือจากบทความนี้
กรณีผู้สูงอายุสำลัก อาหารติดคอ มีวิธีช่วยดังนี้ > วิธีช่วยผู้สูงอายุสำลักอาหาร
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Winest ตระหนักและใส่ใจด้านโภชนาการผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทานอาหารส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของมนุษย์ และยิ่งในผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการกลืนที่เสื่อมลงตามวัย รวมไปถึงโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการทานอาหารย่อมทำให้ความสุขในชีวิตลดลงอย่างมาก ดังนั้นการตรวจประเมินและให้การบำบัดฟื้นฟูอย่างถูกต้องจำเพาะกับผู้สูงอายุเป็นรายบุคคลจึงจำเป็นอย่างมาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Winest มีนักกิจกรรมบำบัดที่สามารถตรวจประเมิน ภาวะกลืนลำบากและบำบัดฟื้นฟูด้านการกลืน จัดเตรียมรูปแบบของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการทานอาหารของผู้สูงอายุแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุกลับมาทานอาหารและมีความสุขกับการกินได้อีกครั้ง รวมไปถึงในบางรายที่ต้องให้อาหารทางสายยาง จะได้รับการดูแลโดยพยาบาลและเจ้าหน้าที่บริบาลตลอดมื้ออาหารเพื่อความปลอดภัย และป้องกันภาวะขาดน้ำและสารอาหารเหมาะสำหรับโภชนาการผู้สูงอายุ
เพราะการกิน คือ ความสุขของทุกคน
เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096
กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล
เอกสารอ้างอิง คู่มือการฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก กลุ่มวิจัยภาวะกลืนลำบาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น