6 โรคพบบ่อย ในผู้สูงอายุ

หมวดหมู่:
November 23, 2023
แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:

ผู้สูงอายุ คือช่วงวัยที่ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายอาจนำพามาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วย ต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง เพราะการใช้ชีวิตแบบมีโรคจะส่งผลให้ความสุขโดยรวมของผู้สูงอายลดน้อยลง รบกวนการใช้ชีวิต สร้างความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งโรคบางอย่างในผู้สูงอายุก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

การเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เข้าใจอาการและความเป็นไปของตัวโรค ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคให้ได้มากที่สุด เรียนรู้ที่อยู่ร่วมกับโรคอย่างปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะได้ เพื่อการเตรียมเข้าพร้อมได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป

บทความนี้จะพาผู้อ่านทำความรู้จักกับโรคยอดฮิตที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ชวนให้ผู้อ่านได้สำรวจการใช้ชีวิตของตนเอง เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการไม่ออกกำลังกาย ทำให้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยอีกด้วย

6 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ

1. โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์เกิดจากเซลล์ประสาทของสมองทำงานน้อยลงหรือหยุดทำงานบางส่วน ทำให้ความจำ การรับรู้ การประมวลผลในสมองช้าลง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากผู้สูงอายุจะพูดคุยตอบสนองน้อยลง หรือมีปัญหาอารมณ์รุนแรงมากขึ้นเพราะใช้เหตุผลน้อยลง บางรายไม่สามารถจดจำขั้นตอนที่เคยทำได้ดี เช่น ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ พูดหรือถามซ้ำๆในเรื่องเดิม ลืมการทำกิจกรรมวัตรประจำวัน ลืมเรื่องวันเดือนปี เป็นต้น

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

2. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ แตก ตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้เต็มที่ จนเกิดเป็นความพิการ เช่น มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีก มีปัญหาในการทานอาหารและการพูด ส่งผลถึงคุณภาพการใช้ชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ การดื่มเหล้า สูบหรี่ ไขมันสูง ความดันโลหิตสูงและเบาหวานถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมองได้

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

3. โรคหัวใจ

โรคหัวใจที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดหัวใจทำให้หัวใจตีบเลือดไหลผ่านได้ไม่เต็มที่จนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในผู้สูงอายุมักเกิดความเสื่อมตามวัยอาจทำให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

4. โรคกระดูก

ผู้สูงอายุเพศหญิงมักพบปัญหาจากโรคกระดูกมากกว่าเพศชาย เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลงทำให้ส่งผลถึงความแข็งแรงของกระดูกและนำมาซึ่งโรคกระดูกพรุนหรือโรคข้อเข่าเสื่อมได้ ทำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวน้อยลง ขาดกิจกรรมทางสังคม เกิดความเจ็บปวดตามกระดูกและข้อ

5. โรคเบาหวาน

ด้วยอายุที่มากขึ้นเกิดความเสื่อมของร่างกายทำให้ตับอ่อนของผู้สูงอายุผลิตอินสุลินได้น้อยลง (Insulin) ร่างกายของผู้สูงอายุจึงควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อยลง ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง จนเกิดเป็นความพิการได้

6. โรคไต

ไตของผู้สูงอายุจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเนื่องจากในผู้สูงอายุ ขนาดไตจะเล็กลง ส่งผลให้ไตก็จะกรองของเสียได้น้อยลงเช่นกัน หากผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมการทานอาหารได้ จะส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นและเสื่อมมากขึ้นจนนำไปสู่การเป็นโรคไต คือร่างกายไปสามารถขับของเสียออกไปเองได้ ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องล้างไต ทำให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิต

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

สุขภาพสำคัญอย่างไร ?

ในช่วงชีวิตบั้นปลายชีวิตอย่างวัยผู้สูงอายุ สุขภาพจึงกลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่ควรทะนุถนอมและยังเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากว่าเราจะประคับประคองสุขภาพของเราไปได้นานแค่ไหน เพราะโรคดังกล่าวมักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เพิ่มความลำบากในการใช้ชีวิต สร้างความทุกข์ทรมาน ลดคุณภาพชีวิตโดยรวม

การไม่มีโรคก็เป็นลาภอันประเสริฐ ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิด “การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี”  จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักถึงอย่างมากตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ายามเราแก่ชราจะเป็นเราจะต้องเป็นโรคยอดฮิตอะไรบ้าง ซึ่งต่อให้ฮิตมากแค่ไหน ก็ไม่มีใครอยากมีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะโรคทำให้ลดทอนความสุขในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพราะผู้สูงอายุเปรียบเสมือนผลึกแก้วที่ผ่านการเจียรไนยหรือผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมาย แต่ละช่วงชีวิตล้วนเป็นความทรงจำ ความสุข และความยากลำบาก ซึ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงวัยผู้สูงอายุล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น

“การหมั่นดูแลร่างกายของเราอยู่เสมอจึงดีที่สุด”

การหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่เราทำได้ตั้งแต่ตอนนี้เพื่อให้อนาคตในการเป็นผู้สูงอายุของเราไม่เป็นทุกข์จากโรคร้ายจนเกินไป เพื่อให้เราได้อิ่มเอมกับช่วงเวลาที่เหลืออย่างเป็นสุข การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี จึงไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น แต่ควรเป็นความมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อจะรักษาความมีชีวิตชีวาและความสวยงามของวัยผู้สูงอายุไว้ให้ได้นานที่สุด

การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของแพทย์ และการใช้ชีวิตที่คำนึงถึงสุขภาพที่ดี เช่น การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดสุราและบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ หากตรวจพบโรคอะไรแอบแฝงในร่างกายก็สามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เราได้เพลิดเพลินกับคุณภาพชีวิตเมื่อเราเข้าสู่วัยชราได้อย่างมีความสุข

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Winest ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้สูงอายุทุกคนสุขภาพดีและใช้ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096

กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล

เอกสารอ้างอิง

  • , โรคหัวใจในผู้สูงอายุ. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.[Internet]. [cited 11September 2023]. https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/2803/
  • ไตกับผู้สูงอายุ https://www.bangkokhospital.com/content/kidney-and-elderly
บทความก่อนหน้า >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

สังคมผู้สูงอายุ (aging society) คืออะไร

August 16, 2024
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากรทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” หรือ “aging society” ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในสังคม สังคมผู้สูงอายุ (aging society) คือ สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด 2. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด 3. การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อหลายด้านของสังคม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เพราะการลดลงของกำลังแรงงาน การเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลังในการดูแลผู้สูงอายุ  ด้านสังคม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว ความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น  และด้านสาธารณสุข เพราะความต้องการบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. อัตราการเกิดที่ลดลง เพราะปัจจุบันค่านิยมในการมีครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ต่างมีแนวโน้มแต่งงานช้าลงและมีลูกน้อยลง ต้องการตั้งตัวให้ได้ก่อนแล้วจึงค่อยมีลูก โดยหลายคนเลือกที่จะไม่มีลูกหรือมีลูกเพียงคนเดียว ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ค่าใช้จ่ายต่างๆ สูงมากขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนชะลอการมีลูก 2. การพัฒนาทางการแพทย์ ผู้สูงอายุต่างก็มีอายุยืนยาวมากขึ้น เนื่องด้วยความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่างๆวิทยาการทางแพทย์การค้นพบวิธีการรักษาโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น มะเร็ง […]
Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down