5 ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:

โรคหัวใจเป็นหนึ่งใน 6 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต คุณไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยการดูแลหัวใจ วินเนสต์จึงอยากเชิญชวนผู้สูงอายุและผู้ดูแลทุกท่านหันกลับมาดูแลหัวใจของคุณ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ

หัวข้อ

โรคหัวใจ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก สถิติจากองค์การอนามัยโลกรายงานว่า พบการเสียชีวิตจากโรคหัวใจมาเป็นอันดับจากสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และในประเทศกำลังพัฒนาจะพบการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจได้สูงมาก ประเทศไทยของเรามีสถิติการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น และมีจำนวนการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุสำคัญอันเนื่องมาจากการดำเนินวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ รูปแบบการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโรคหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา

โรคหัวใจ มีหลายชนิด อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจถี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้ามีสีเขียวคล้ำ อาการเหล่านี้เป็นอาการบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจมีปัญหาโรคหัวใจ โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นของโลก ซึ่งหลายคนอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

  1. เพศและอายุ -โรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องจากความยืดหยุ่นของหลอดเลือดน้อยลงตามวัย หลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง ในเพศชาย อายุ 40 ปี ขึ้นไปและในเพศหญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไปหรือวัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงขึ้น
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต – การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทานอาหารไขมันสูง การไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน คอลเลสตอรอลสูง โรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เหล่านี้ล้วนเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นมาก
  3. มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ – หากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น โดยเฉพาะเป็นญาติสายตรง ได้แก่ บุคคลที่มีพ่อหรือแม่ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าเป็นโรคหัวใจ นอกจากจะปฏิบัติตามการรักษา เช่น การทานยา หรือการผ่าตัดแล้ว ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือระวังการดำเนินชีวิตที่เป็นความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการอยู่กับโรคหัวใจ

  1. ระมัดระวังการทานอาหาร

ข้อควรระวังอย่างแรกที่สำคัญมากคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารไขมันสูง เลี่ยงอาหารรสจัด ลดอาหารที่มีโซเดียมสูง และลดการทานอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป เช่น ฟาสฟู้ด อาหารแปรรูป จำพวกไส้กรอก ของทอด ของมัน เบเกอรี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  

ผู้ป่วยโรคหัวใจควรเพิ่มการทานผักผลไม้ ทานเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อย เช่น ปลาทะเล ปลาทู ผ่านการทำอาหารโดยการ ต้ม นึ่ง ตุ๋น ยำ หรือผัดโดยใช้น้ำมันน้อย ลดการปรุง เรื่องอาหารการกินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง

  1. หมั่นออกกำลังกาย

หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องออกแรงหนัก แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยแนะนำถึงความหนักเบาในการออกกำลังกาย โดยทั่วไปการออกกำลังควรมีการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดก่อนเสมอด้วยการ สถานที่ออกกำลังไม่ควรร้อนหรืออบอ้าว ควรจิบน้ำก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกายเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไป ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายคือผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกและท้อง ไม่กลั้นหายใจระหว่างออกกำลังกาย ชนิดการออกกำลังกาย เช่น เดินลู่วิ่ง เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น

  1. เลิกการสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์

ข้อควรระวังที่สำคัญคือผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรให้หัวใจทำงานหนัก แน่นอกว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก การเลิกบุหรี่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจได้ การดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องจะทำให้ความดันสูงขึ้น ไขมันและน้ำตาลสูงขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้

  1. ลดปัจจัยการเกิดความเครียด

ความเครียดและภาวะซึมเศร้าอาจเกิดได้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจเป็นโรคที่ถือเป็นภัยคุกคามถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงเกิดความวิตกกังวลได้ง่าย อีกทั้งยังต้องต้องเผชิญกับร่างกายที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทำงานได้ดีดังเดิม ต้องปรับวิถีชีวิตการดูแลตนเอง ความเครียดหรือการวิตกกังวลนี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่สนใจดูแลตนเอง

การดูแลเรื่องจิตใจจึงสำคัญไม่แพ้อาการทางกาย ญาติจึงต้องคอยกำกับดูแลให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหัวใจ พาออกกำลังตามแพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายและการพาทำกิจกรรมจะช่วยลดความเครียดได้อย่างดี

  1. หมั่นสังเกตอาการเตือนของโรคหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หายใจลำบาก เวียนศีรษะ เป็นลม ชาที่ขาหรือแขน แขนขาบวม และเหนื่อยล้า หากเกิดอาการเหล่านี้ผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้ดูแลสามารถสังเกตได้เองเพื่อการรักษาทางการแพทย์ได้ทันท่วงที

การรักษาโรคหัวใจ

แนวทางการรักษา จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจในแต่ละราย

  1. การใช้ยา – ยาที่สามารถรักษาและควบคุมอาการโรคหัวใจ เช่น ยาตานเกล็ดเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาลดไขมัน เป็นต้น
  2. การรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือดหัวใจ – วิธีนี้จะไม่ใช้การผ่าตัด ใช้การให้ยาชาเฉพาะจุด สามารถสวนได้ที่บริเวณ ขาหนีบ หรือข้อมือ ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
  3. การผ่าตัด – การผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจ มี 2 แบบ ได้แก่
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยให้หัวใจหยุดนิ่งและใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) ตัวเครื่องจะทำหน้าที่แทนหัวใจในการควบคุมการไหลเวียนของเลือด
  • การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ โดยที่หัวใจไม่หยุดเต้น (Off- Pump CABG) การผ่าตัดวิธีนี้หัวใจและปอดยังคงทำหน้าที่ตามปกติ มีข้อดีคือ ลดภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น

การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดอวัยวะภายในของ Winest

ผู้ป่วยผ่าตัดโรคหัวใจในระยะหลังผ่าตัดจะมีการบาดเจ็บจากกระบวนการผ่าตัด ประสิทธิภาพการหายใจลดลง ผู้ป่วยผ่าตัดมักได้รับยาขับปัสสาวะอาจทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของสารในร่างกาย เกิดการปวดแผลผ่าตัด

ด้วยอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยผ่าตัดจึงควรได้รับการดูแลโดยสหวิชาชีพทางแพทย์ อันได้แก่ แพทย์ พยาบาล เพื่อให้การความรู้และการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมหลังการผ่าตัด รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติในเวลาอันสั้น ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การออกกำลังอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ 

Winest ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัด มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ครบทีม ได้แก่ พยาบาลประจำศูนย์ที่จะตรวจประเมินค่าสัญญาณชีพและอาการของผู้ป่วยในแต่ละวันและจัดการบริหารการใช้ยาของผู้ป่วย มีนักกายภาพบำบัดลดปวดแผลผ่าตัดและกระตุ้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย มีนักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์และจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตามการบกพร่องของผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096

กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล

เอกสารอ้างอิง

  1. IInthawong, R., Khatab, K., Whitfield, M., Collins, K., Raheem, M., & Ismail, M. (2019). Health care and hospitalisation costs of cardiovascular disease (CVD) in Thailand. Open Access Library Journal6(3), e5320.
  2. Aekplakorn, W., Suriyawongpaisal, P., & Sirirassamee, B. (2005). Assessment of capacity for cardiovascular disease control and prevention in Thailand: a qualitative study. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health36(3), 741.
  3. แสงเดือน กันทะขู้, วรรัตน์ โพธิ, ปนัดดา อินทรลาวัณย์, & สายพิณ เกษมกิจวัฒนา. (2014). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. Thai Journal of Nursing Council29(3), 92-103. 
  4. วรรณพรรธน์ วาณิชชัชวาลย์, จารุวรรณ ธาดาเดช, & กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์. (2022). ผลการรายงานคะแนนความ เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดรายบุคคลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพนักงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง.
  5. อ.นพ.ตุล ชัยกิจมงคล อายุรแพทย์โรคหัวใจ, โรคหัวใจในผู้สูงอายุ. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Internet]. [cited 25 November 2023].https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/2803/
  6. พญ.สรวงพัชร์ สีตกะลิน แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ (อายุรกรรมโรคหัวใจ), ป่วยโรคหัวใจ ออกกำลังได้ไหม ?, patRangsit Hospital. [Internet]. [cited 25 November 2023].
  7. British Heart Foundation, Cardiovascular heart disease. [Internet]. [cited 25 November 2023]. https://www.bhf.org.uk/informationsupport/conditions/cardiovascular-heart-disease
บทความก่อนหน้า >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down