สัญญาณเตือน ! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:
แพทย์ถือกระดูกสันหลังจำลอง

Highlight

  • มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ ในช่วงแรก
  • ปวดหลัง ปวดคอ และมีอาการปวดร้าวลงไปถึงขาอาจมีอาการชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย
  • บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจะทำให้ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
  •  โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถรักษาหายได้ หากเข้ารับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ  

หมอนรองกระดูกคืออะไร

โมเดลกระดูกสันหลังพร้อมเส้นประสาทไขสันหลัง

หมอนรองกระดูกคือ อวัยวะนิ่ม ๆ ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนัก แรงกระแทกต่าง ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลังนั่นเอง องค์ประกอบส่วนใหญ่ของหมอนรองกระดูกประกอบไปด้วยน้ำ คลอลาเจน และโปรตีนเป็นหลัก หมอรองกระดูกไม่มีเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงโดยตรง แต่จะใช้แรงดันระหว่างกระดกมาแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างกัน โครงสร้างหลักของหมอนรองกระดูก จะแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่

  1. Nucleus pulposus คือ ส่วนบริเวณตรงกลางของหมอนรองกระดูก องค์ประกอบหลักคือ คอลลาเจนกับน้ำที่มากถึง มีหน้าที่รับแรงกระแทก กระจายแรงของนํ้าหนักที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อ
  2. Annulus fibrosus คือ เนื้อเยื่อที่หุ้ม Nucleus pulposus ไว้ไม่ให้ปลิ้นออกมา ทำหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับแรงในแนวต่าง ๆ ได้ดี 

สาเหตุการเกิดกระดูกทับเส้นประสาท

สาเหตุอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ เกิดจากความเสื่อมของร่างกายและจากการใช้งาน กับเกิดจากอุบัติเหตุทำให้หมอนแรงกระดูกสันหลังแตก และปลิ้นไปกดทับเส้นประสาทนั่นเอง          

  • การเกิดอุบัติเหตุหากได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง หรือมีการกระแทกที่กระดูกสันหลังโดยตรง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทได้
  • เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย คือ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปกระดูกสันหลังต้องทำงานหนัก 
    การใช้งานในท่าต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้มๆ เงยๆ การนั่งยอง การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบท การยกของหนัก หรือแม้กระทั่งการไอหรือจามแรง ๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดได้  

อาการแสดงของโรงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หญิงสาวจับบริเวณคอบ่า

อาการแสดงของกระดูกทับเส้นประสาทส่งผลต่อร่างกายได้หลายส่วน ขึ้นกับบริเวณที่โดนกดทับ เพราะเส้นประสาทแต่ละเส้นไปเลี้ยงในส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ มีอาการปวดคอ หลัง เอว สะโพก เป็นเวลานาน เป็น ๆ หาย ๆ บางรายอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงที่แขน ขาร่วมด้วย 
ในบางรายที่มีอาการกดทับรุนแรง อาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

แนวทางการรักษา โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลายวิธีขึ้นกับระยะและความรุนแรงที่เป็น โดยเมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ และอาจตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยอาการได้แม่นยำที่สุด การรักษามีทั้งรูปไม่ใช้ยา ใช้ยา และการผ่าตัด 

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

หากอาการไม่รุนแรงมาก การใส่อุปกรณ์พยุงหลัง และการทำกายภาพบำบัด
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมสำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เพราะสามารถช่วยลดอาการปวด นอกจากนั้นนักกายภาพบำบัดสอนการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วที่สุด

รูปแบบการใช้ยา

การทานยาแก้ปวดตามอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นสามารถฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลังโดยตรงจะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้

การผ่าตัด

เมื่อใช้การรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์จะแนะนำการผ่าตัด ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนามากขึ้น การผ่าตัดค่อนข้างแม่นยำและแผลเล็ก ลดโอกาสการเกิดปัญหาแทรกซ้อนและฟื้นตัวได้เร็ว

แนวทางการดูแลผู้ป่วย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์มีคลินิกกายภาพบำบัดตั้งอยู่ด้านข้าง สามารถให้บริการกายภาพบำบัดทั้งคนไข้ในและคนไข้นอก ผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอรองกระดูกสับเส้นประสาทที่เป็นไม่มาก สามารถเข้ารับการตรวจประเมินจากนักกายภาพบำบัดประจำคลินิก เพื่อหาแนวทางการรักษา และสามารถบำบัดรักษาแบบเป็นผู้ป่วยนอกได้ สามารถเลือกวัน เวลาที่สะดวกเพื่อเข้ามารับบริการ 

ในกรณีที่ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นประสาทได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในช่วงเวลาของการพักฟื้น อาจจะยังดูแลตัวเองได้ยาก สามารถพักฟื้นกับทางศูนย์และมีบริการคอร์สกายภาพบำบัด เพื่อกายภาพบำบัดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อีกทั้งศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์ยังมีแพทย์เข้าเยี่ยมตรวจดูอาการ และให้คำปรึกษาอาทิตย์เว้นอาทิตย์ 
 มีพยาบาลและนักบริบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดูแลฟื้นฟูท่านให้ดีที่สุด

นอกจากนี้เรายังมีบริการแพทย์ทางเลือก คือการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยแพทย์แผนจีน สามารถเลือกรับบริการได้ทั้งรูปแบบคนไข้ใน และคนไข้นอก แพทย์แผนจีนจะทำการตรวจประเมินทางวิชาชีพ เพื่อเลือกการบำบัดรักษาที่เหมาะสม

สหวิชาชีพที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์

โดยสรุป โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถรักษาให้หายได้ หากพบแพทย์และผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่น ๆ  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทซ้ำได้อีกหลังผ่าตัด 10-15%  ทั้งนี้ เราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดโอกาสของความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำ งดการสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่ทำให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมง่าย ออกกำลังกายอย่างถูกวิธีอยู่เป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดแรงดันที่เกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูก

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

กบ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

เอกสารอ้างอิง
-	นภานุช การเกษ. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง : การศึกษารายกรณี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี 2562.
-	กระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุการเจ็บป่วยรายภาคต่อประชากร 1,000 คน. [อินเทอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงจาก htt://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/statistic54/statistic54.html.
-	Fors, M., Enthoven, P., Abbott, A. et al. Effects of pre-surgery physiotherapy on walking ability and lower extremity strength in patients with degenerative lumbar spine disorder: Secondary outcomes of the PREPARE randomised controlled trial. BMC Musculoskelet Disord 20, 468 (2019). https://doi.org/10.1186/s12891-019-2850-3
บทความก่อนหน้า >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down