Golden Period คืออะไร ? สำคัญอย่างไรต่อการฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:
  • Golder Period ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ช่วงเวลาทองสำหรับการฟื้นฟู
  • โดยปกติแล้ว Golder Period จะมีระยะเวลาคือ 3 – 6 เดือนแรกเมื่อผู้ป่วยพ้นจากวิกฤต
  • กระบวนการ neural plasticity คือกระบวนการธรรมชาติของสมองหลังบาดเจ็บ โดยให้เซลล์สมองส่วนใกล้เคียงที่ไม่ได้รับความเสียหาย มาทำหน้าที่แทนเซลล์สมองที่ตายไป
  • หากในช่วงเวลา Golder Period ผู้ป่วยผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้รับการฟื้นฟูเข้มข้น 
    ตรงจุด และเหมาะสม จะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ทำให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

หัวข้อ

Golden Period คืออะไร ?

         ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น จากข้อมูลทางสถิติพบว่า 
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 ทั่วโลก โรคที่โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมอง ซึ่งเกิดได้จากการอุดตัน หรือหลอดเลือดสมองแตก เมื่อเซลล์สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้สมองตาย และนำมาสู่การเสียชีวิตหรือพิการนั่นเอง

            ในกลุ่มผู้รอดจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แน่นอนว่ายังไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูก่อน และช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูคือ 3-6 เดือนแรกหลังจากอาการคงที่ หรือที่เรียกว่า “Golden Period” นั่นเอง

ความสำคัญของการฝึกในช่วงระยะ 6 เดือนแรก

“ช่วงเวลาทอง (Golden Period) ของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ 3-6 เดือนแรกหลังจากที่อาการคงที่”

            ช่วงนี้เป็นช่วงที่ควรได้รับการฟื้นฟูทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด ฝึกพูด หรือศาสตร์อื่น ๆ ตามแพทย์เจ้าของไข้เห็นสมควร เพราะหลังจากที่สมองเสียหาย ธรรมชาติของสมองในช่วงแรกจะมีการปรับตัว โดยให้เซลล์สมองส่วนใกล้เคียงที่ไม่ได้รับความเสียหาย มาทำหน้าที่แทนเซลล์สมองที่ตายไป กระบวนการนี้เรียกว่า neural plasticity เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะถ้าหากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ได้รับการฟื้นฟูที่ตรงจุด จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดการเกิดความพิการ และกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด 

            หลังจาก 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงเกิดกระบวนการ neural plasticity อยู่แต่อัตราการฟื้นตัวจะค่อย ๆ ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป หมายความว่า หากพ้นระยะ golden period แล้ว ผู้ป่วยก็ยังตงต้องได้รับการฟื้นฟูอยู่ เพื่อพัฒนาต่อและคงความสามารถไว้นั่นเอง

ที่มารูป : Langhorne P, Bernhardt J, Kwakkel G. Stroke rehabilitation. Lancet. 2011;377(9778):1693-702.

ระยะของการฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก

         รูปแบบการฟื้นฟู หรือความเข้มข้นในการฟื้นฟูของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไป โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Medicine and Rehabilitation) จะเป็นผู้ตรวจและให้คำแนะในการบำบัดฟื้นฟู แบ่งง่าย ๆ ได้ 3 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะเฉียบพลัน (Acute phase) ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังเพราะเพิ่งผ่านวิกฤตมา อาการโดยรวมต่าง ๆ อาจจะยังไม่คงที่ต้องเฝ้าระวังและมีการดูแลใกล้ชิด ในระยะนี้สามารถเริ่มฟื้นฟูเบื้องต้นง่าย ๆ บนเตียงได้เลยเพราะยิ่งได้รับการฟื้นฟูเร็วเท่าไร สมองจะยิ่งได้รับการกระตุ้น แต่ต้องเป็นการฟื้นฟูง่าย ๆ ขั้นพื้นฐาน เช่น การขยับข้อต่อป้องกันข้อติด การให้ความรู้ญาติในการจัดท่าเพื่อป้องกันแผลกดทับ ระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ระยะฟื้นตัว (Rehabilitation phase) ในระยะนี้ผู้ป่วยมีอาการคงที่แล้ว ควรเน้นการบำบัดฟื้นฟูทุกด้านอย่างเข้มข้นมากที่สุด เพื่อกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาทำงาน ร่างกายเรียนรู้การเคลื่อนไหว อีกครั้ง ในช่วงนี้จะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะมีพัฒนาการไปข้างหน้าอย่างมาก
  3. ระยะทรงตัว (Maintain phase) ระยะนี้จะพบว่าความสามารถของผู้ป่วยจะดีขึ้นช้า ๆ ทีละนิด หรืออาจไม่ดีขึ้นเลย แต่ยังคงเป็นระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นอยู่ เนื่องจากต้องรักษาความสามารถสูงสุดของผู้ป่วยไว้ และป้องกันไม่ให้แย่ลง แต่อาจสามาถลดความเข้มข้น ความถี่ในการบำบัดได้ในผู้ป่วยบางราย  

ทำไมต้องฟื้นฟูกับศูนย์ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองวินเนสต์ (Winest)

บริการจากสหวิชาชีพด้านการฟื้นฟูครบทีม

         ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์ (Winest) ให้บริการทีมสหวิชาชีพด้านการฟื้นฟูครบทีม 
เมื่อผู้ป่วยเข้าพักกับทางวินเนสต์ และต้องการฟื้นฟู ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินโดยนักกายภาพเพื่อหาปัญหาในเบื้องต้น และประเมินความสามารถพื่อเป็นเกณฑ์แรกรับก่อนได้รับการบำบัดฟื้นฟู หลังจากนั้นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Medicine and Rehabilitation) จะเข้ามาทำการตรวจประเมินอีกครั้ง เพื่อออกแบบการฝึกให้เฉพาะจงเจาะ เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละทาน เพื่อให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่ตรงจุดมากที่สุด 

มีการรายงานการฟื้นฟูให้ญาติทราบทุกวัน

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะเข้ามาตรวจประเมินเดือนละ 2 ครั้ง (อาทิตย์เว้นอาทิตย์) เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมส่งรายงาน คำแนะนำให้ญาติได้ทราบ นอกจากนี้ทีมสหวิชาชีพซึ่งประกอบ
ไปด้วย นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาคลินิก และแพทย์ทางเลือก 
ได้แก่ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน จะมีการแจ้งรายงานการบำบัดฟื้นฟูให้ทราบทุกวัน พร้อมด้วยรูปถ่ายหรือวีดีโอ ให้ญาติ ๆ ได้ทราบถึงพัฒนาการ และในทุก ๆ 3 เดือนจะมีการประเมินซ้ำ เพื่อดูว่ารูปแบบการฟื้นฟูที่ได้รับเหมาะสมกับผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความสามารถมากขึ้น 

อำนวยความสะดวกสบายให้กับญาติและผู้ป่วย

นอกจากนี้การเข้าพักกับทางศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับญาติและผู้ป่วย เนื่องจากประหยัดค่าเดินทาง เพราะช่วงแรกผู้ป่วยบางท่านไม่สามารถเดินทางโดยรถส่วนตัวได้ จำเป็นต้องจ้างรถพยาบาล อีกทั้งยังไม่เสียเวลาเดินทาง ผู้ป่วยไม่เหนื่อยจนเกินไป มากกว่านั้นศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์ได้รวบรวมทีมสหวิชาชีพด้านการฟื้นฟูไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาชีพที่ค่อนข้างหายาก เช่น นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ญาติและผู้ป่วยมั่นใจว่าเราสามารถให้การฟื้นฟูท่านได้เป็นอย่างดี

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

ก.บ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

เอกสารอ้างอิง

  • Bernhardt J, Hayward KS, Kwakkel G, Ward NS, Wolf SL, Borschmann K, et al. Agreed definitions and a shared vision for new standards in stroke recovery research: The stroke recovery and rehabilitation roundtable taskforce. Int J Stroke. 2017;12(5):444-450.
  • Carey L, Walsh A, Adikari A, Goodin P, Alahakoon D, De Silva D, et al. Finding the Intersection of Neuroplasticity, Stroke Recovery, and Learning: Scope and Contributions to Stroke Rehabilitation. Neural Plast. 2019.
  • Langhorne P, Bernhardt J, Kwakkel G. Stroke rehabilitation. Lancet. 2011;377(9778):1693-702.
บทความก่อนหน้า >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down