10 ข้อควรระวังในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:

Highlight

  • พลัดตก หกล้มเป็นความเสี่ยงที่พบได้บ่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส ความรู้สึก การคิดตัดสินใจ 
    การทรงตัวต่าง ๆ อาจไม่สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว 
  • ปอดติดเชื้อ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลอดสมอง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทานอาหารมีอาการอ่อนแรงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสสำลักอาหารได้ง่าย 
  • ภาวะขาดสารอาหาร หรือทุพโภชนาการ สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากเมื่อทานอาหารได้ยาก หรือต้องควบคุมอาหารทำให้อาจเกิดการเบื่ออาหารและทานน้อยลงได้ ในบางรายต้องใส่สายอาหารทางจมูก หรือเจาะหน้าท้อง อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • ภาวะซึมเศร้าเนื่องจากความสามารถทางร่างกายลดลง รู้สึกด้อยค่า
  • ในระยะยาวมีผลต่อความคิด การวางแผน ทำให้เกิดสมองเสื่อมตามมา

หัวข้อ

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

         โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 2 และยังเป็นสาเหตุของความพิการอันดับที่ 3 ของโลก จากการสำรวจประชากรทั่วโลกโดยองค์กรโรคหลอดเลือดสมองพบว่า เมื่อปี 2563 มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากว่า 80 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 5.5 ล้านคน และสถานการณ์โรคหลอดเลือกสมองในไทย มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา และในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 34,545 คน หรือคืออัตราการตาย 53 คนต่อประชากรแสนคน

            โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมองทำให้สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย โรคหลอดเลือดสมองมี 2 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองแตก และเส้นเลือดสมองตีบ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดสมองตีบสามารถรักษาให้เป็นปกติได้หากพบแพทย์ทันภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง 

โรคหลอดเลือดสมองสังเกตอย่างไร

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง คือ FAST ได้แก่

F = Face ใบหน้า: ให้ผู้ป่วยยิ้ม จะยิ้มได้แค่ข้างเดียว ใบหน้าอีกข้างหนึ่งไม่สามารถยกได้ ปากเบี้ยว หนังตาตกลง หรือตาพล่ามัว

A = Arm แขน: ให้ผู้ป่วยยกแขนทั้งสองข้างขึ้น ผู้ป่วยจะยกได้แค่ข้างเดียว ให้ตรวจดูอาการอ่อนแรงหรืออาการชาที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย

S = Speech คำพูด: ให้ผู้ป่วยพูดวลีง่ายๆ ซ้ำๆ ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัด ติดขัด พูดได้ไม่เหมือนเดิม

T = Time เวลา: หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ โทร 1669 หรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันที

10 ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

         ผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองเมื่อผ่านช่วงวิกฤติมาแล้วจะเข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟู ช่วงเวลาสำคัญของการฟื้นฟู (Golden period) ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเพียง 6 เดือนแรก แต่ระหว่างนี้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ขึ้นได้ จำเป็นต้องมีการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

1. พลัด ตก หกล้ม

พลัด ตก หกล้ม เป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เนื่องจากในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่สามารถทรงตัวได้เอง และการรับรู้สติยังต่ำอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงในการหกล้ม ตกเตียงได้ หรือในผู้ป่วยที่ฟื้นฟูจนสามารถเดินได้แล้ว ก็ยังคงต้องระมัดระวังการหกล้มอยู่ เนื่องจากการตัดสินใจ ปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการทรงท่า (Reaction time) ไม่ได้รวดเร็วเหมือนแต่ก่อน ควรมีผู้ดูแลใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย หรือการปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมกับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

ชายสูงอายุใช้ไม้เท้า หกล้มจากอาการป่วยหลอดเลือดสมอง

2. ปอดติดเชื้อ

ปอดติดเชื้อ เกิดได้จากการสำลักน้ำลาย หรืออาหาร ผู้ป่วยหลายราย เมื่อพ้นจากระยะวิกฤติแล้วอาจจะยังไม่สามารถทานทางปากได้เลย จำเป็นต้องใส่สายให้อาหารทางจมูก เนื่องจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอ่อนแรง ไม่สามารถกลืนอาหารได้อย่างปลอดภัย ในบางรายการรับรู้ยังสติต่ำ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้จึงจำเป็นต้องใส่สายอาหาร และหมั่นทำความสะอาดช่องปากเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องปอดติดเชื้อ 

ชายสูงอายุไอจากอาการปอดติดเชื้อ จากปัญหากลืนในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

3. ภาวะขาดสารอาหารหรือ ทุพโภชนาการ

ภาวะขาดสารอาหารหรือ ทุพโภชนาการ ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับมาทานอาหารได้ แต่ปริมาณในการทานลดลง ทานน้ำน้อยลง เนื่องจากรู้สึกกลืนลำบาก ทำให้น้ำหนักลดและเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ การดูแลโภชนาการในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญ

มือผู้สูงอายุจับช้อนส้อมมีจานวางอยู่บนโต๊ะ แต่ไม่มีอาหาร ภาวะทุพโภชนาการ ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

4. การเกิดแผลกดทับ

การเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเคลื่อนไหวร่างกายได้ยาก ในช่วงแรกผู้ดูแลจำเป็นต้องช่วยพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ

ผู้ช่วยพยาบาลช่วยคนไข้เหลอดเลือดสมองพลิกตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

5. ระวังเรื่องข้อติด/ ไหล่หลุด

ระวังเรื่องข้อติด/ ไหล่หลุด ในช่วงแรกกล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่เองก็ยังไม่แข็งแรง สามารถทำให้เกิดข้อไหล่หลุดได้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี มากกว่านั้นหากไม่ได้รับการออกกำลังกายหรือกายภาพบำบัดในข้างอ่อนแรงปัญหาที่อาจตามมาคือข้อติด และทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยได้

คนไข้ชายสวมที่ซัพพอร์ตไหล่จากข้อไหล่หลุด อาการที่เกิดขึ้นในคนไข้สโตรค หลอดเลือดสมอง

6. อาการบวม

บวม เป็นอาการที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณปลายมือ ปลายเท้า เนื่องจากการไม่ได้เคลื่อนไหว ทำให้ของเหลวในร่างกายอาจะไปสะสมอยู่ตามรยางค์ของร่ายกาย หากมีอาการบวมมากจะทำให้ปวดและขัดขวางการเคลื่อนไหวได้

อาการเท้าบวม จากภาวะอ่อนแรงของขา ในผู้ป่วยหลอดลเลือดสมอง

7. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการควบคุมปัสสาวะ บางรายอาจต้องสายสวน แพมเพิร์ส จึงจำเป็นต้องดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ผู้สูงอายุหญิงป่วยโรคหลอดเลือดสมองใส่แพมเพิส

8. สมองเสื่อมในระยะยาว

สมองเสื่อมในระยะยาว ในบางรายมีปัญหาเรื่องการคิด วิเคราะห์ ความเข้าใจ และอาจสูญเสียความจำได้ในผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้

ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจับศรีษะ ทำท่านึกคิด จากปัญหาการคิด สูญเสียความจำ

9. ปัญหาทางจิตใจ

ปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ฉุนเฉียว เป็นปัญหาทางจิตใจที่อาจโดนมองข้าม เพราะปัญหาไม่ชัดเจนเท่าทางร่างกาย แต่แท้จริงแล้วเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการดูแล เนื่องจากความสามารถของผู้ป่วยลดลง บางรายไม่สามารถดูแลตนเองได้ ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่อยากออกไปเจอผู้คน กิจกรรมต่าง ๆ ลดลง และบางรายอาจมาจากปัญหาการสื่อสาร

หากสมองส่วนการสื่อสารโดนทำลาย ผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการสื่อสาร ทำให้อาจมีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโห เมื่อสื่อสารแล้วไม่มีคนเข้าใจ

ผู้สูงอายุป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แสดงอาการฉุนเฉียว จากความยากลำบากในการสื่อสาร

10. การเป็นสโตรกซ้ำ (Recurrent stroke)

แน่นอนว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดซ้ำได้ เป็นความเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังอย่างยิ่ง ผู้ดูแลต้องตรวจเช็คความดันสม่ำเสมอ ทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหารเพื่อดูแลระดับน้ำตาล ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัดความดันโลหิต เพื่อป้องกันการเกิดสโตรกซ้ำ

แนวทางป้องกันความเสี่ยงของศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองวินเนสต์ Winest

         โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีรายละเอียดค่อนข้างมากจำเป็นต้องใช้หลายวิชาชีพในการฟื้นฟูเพื่อให้คนไข้กลับมาใกล้เคียงเดิม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ Winest มีทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย หมอ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ แพทย์แผนจีน และนักบริบาลให้การดูแลและบำบัดรักษาให้ดีขึ้น

ในศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มีคอร์สการฟื้นฟูที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย มีการกายภาพบำบัดเริ่มตั้งแต่กายภาพบำบัดบนเตียงเพื่อป้องกันข้อติด ลดอาการปวด บวม เตียมความพร้อมสู่การ นั่ง ยืน เดิน

มีนักกิจกรรมบำบัดออกแบบการฟื้นฟูการรับรู้ความเข้าใจ ฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน ฝึกการกลืนร่วมกับนักกำหนดอาหารที่จะกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

มีหมอและพยาบาลให้คำแนะนำในการดูแล การทานยา และติดตามอาการใกล้ชิด นอกจากนั้นยังมีจำหน้าที่บริบาลที่ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และพาทำกิจกรรมประจำวัน เพื่อลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้น

การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

            เราสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้โดยการ ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหารหลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอลล์ หากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงควรพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง และห้ามหยุดยาเอง

            โดยสรุปโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ร้ายแรงแต่เราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจสุขภาภประจำปีและลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในผู้ป่วยกลุ่มหลอดเลือดสมองต้องได้รับการบำบัดรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากผู้ดูแลปฏิบัติตามแนวทางที่แพทย์และทีมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองแนะนำก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยง และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

กบ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์


เอกสารอ้างอิง

  • Wei, W.E., De Silva, D.A., Chang, H.M. et al. Post-stroke patients with moderate function have the greatest risk of falls: a National Cohort Study. BMC Geriatric 19, 373 (2019). https://doi.org/10.1186/s12877-019-1377-7
  • สมศักดิ์ เทียเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศกไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย39 39-46 (2566). http://neurothai.org/images/journal/2023/vol39_no2/06%20Original%20Somsak%20Ubatkarn.pdf
บทความก่อนหน้า >>

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2025 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down