ร่างกายคนเราไม่ใช่จะคงทนถาวรตลอดไป เมื่อผ่านการทำงานหนัก ผ่านการใช้ชีวิต จนอายุมากขึ้น ร่างกายก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดในผู้สูงอายุแบบเรื้อรังได้ ในความเป็นจริงอาการปวดในผู้สูงอายุมักถูกมองข้ามและถูกละเลยอย่างที่ไม่ควรจะเป็น เนื่องจากความเข้าใจที่ว่าผู้สูงอายุจะต้องมีร่างกายที่เสื่อมโทรมตามวัย ความเจ็บปวดจึงกลายเป็นเรื่องปกติที่เป็นผลสืบเนื่องจากอายุที่มากขึ้น
แต่แท้จริงแล้วอาการปวดในผู้สูงอายุเกิดได้มากถึง 50% และส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดที่ควบคุมได้ไม่ดีทำให้เกิดความบกพร่องของการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทรมานจิตใจ เกิดอารมณ์แปรปรวน และการเปลี่ยนแปลงทางความคิด
การทำความเข้าใจประเภทของอาการปวดในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย ตลอดจนวิธีการตรวจหาและการรักษา สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการกับความเจ็บปวดและสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง
ประเภทของอาการปวดในผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สุขภาพโดยรวม พฤติกรรมการใช้ชีวิต และประวัติการเจ็บป่วยทางการแพทย์ อาการปวดในผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่
การตรวจหาอาการปวดในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะไวต่อความเจ็บปวดได้น้อย หมายถึงมีโอกาสน้อยที่จะรายงานความเจ็บปวดหรืออาจสื่อสารอาการของตนเองได้ลำบาก สัญญาณความเจ็บปวดที่ผู้ใกล้ชิดควรสังเกตในผู้สูงอายุ ได้แก่:
หากญาติหรือคนใกล้ชิดสงสัยว่าผู้สูงอายุกำลังมีอาการปวด สิ่งสำคัญคือต้องกระตุ้นให้ผู้สูงอายุไปพบแพทย์และปรึกษาอาการกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
การออกกำลังกายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดอาการปวดในผู้สูงอายุ เนื่องจากสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่น และลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ในการลดอาการปวดในผู้สูงอายุ ได้แก่:
การดูแลที่ครอบคลุม: การจัดการอาการปวดในผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ วินเนสต์ Winest สามารถให้การดูแลที่ครอบคลุมและจำเพาะเป็นรายบุคคล นักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัดจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการกับความเจ็บปวดเรื้อรังได้
นักกิจกรรมบำบัดจะวางแผนการฝึกร่วมกับผู้สูงอายุเพื่อช่วยให้สามารถเข้าร่วมการทำกิจวัตรประจำวันได้มากที่สุดแม้ว่าจะมีอาการเจ็บปวดก็ตาม โดยใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับข้อจำกัดทางร่างกาย ทางความคิดและทางอารมณ์ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น จนส่งผลกระทบกับการทำกิจวัตรประจำวันอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจ็บปวดของร่างกาย ตัวอย่างเช่น นักกิจกรรมบำบัดจะวางแผนร่วมกับผู้สูงอายุเพื่อหาวิธีปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว
โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ Winest ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ในด้านกิจวัตรประจำวันจะใช้การปรับขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้ทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้ดีกว่าเดิม และช่วยลดอาการปวดในผู้สูงอายุ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ได้มากที่สุด
ในส่วนของนักกายภาพบำบัดจะมุ่งเน้นที่การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังกายกายภาพพื้นฐาน และคงไว้ซึ่งความสามารถทางร่างกาย เช่น การกายภาพบำบัดเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และการทรงตัว
การจัดการยา: ยาสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการอาการปวดในผู้สูงอายุ แต่ควรใช้อย่างรอบคอบและตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยศูนย์ผู้สูงอายุวินเนสต์ Winest มีพยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่บริบาลคอยบริหารจัดการเรื่องยาอย่างสม่ำเสมอ
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต: ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ Winest จะดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงการทานอาหาร เสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยการดำเนินชีวิตอื่น ๆ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการปวดในผู้สูงอายุที่เรื้อรังและสร้างคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ
โดยสรุปแล้ว อาการปวดในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้าม การทำความเข้าใจประเภทของอาการปวดในผู้สูงอายุ การตรวจหาความเจ็บปวดตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและการรักษาที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถช่วยผู้สูงอายุจัดการกับความเจ็บปวดและคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของตนเองได้ ด้วยการสนับสนุนจากญาติและทีมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096
กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล
เอกสารอ้างอิง
Closs S. J. (1994). Pain in elderly patients: a neglected phenomenon?. Journal of advanced nursing, 19(6), 1072–1081. https://doi.org/10.1111/j.1365-2648.1994.tb01190.x
Gagliese, L., & Melzack, R. (1997). Chronic pain in elderly people. Pain, 70(1), 3-14.
Rastogi, R., & Meek, B. D. (2013). Management of chronic pain in elderly, frail patients: finding a suitable, personalized method of control. Clinical interventions in aging, 37-46.