Highlight
หัวข้อ
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยเกิดจากแรงดันเลือดที่ดันผนังหลอดเลือดแรงเกินไปอย่างต่อ
เนื่อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบุคคลปกติจะมีระดับความดันโลหิตอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
แต่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และหากมีความดันโลหิตสูงกว่า 180/120 มิลลิเมตรปรอท ถือเป็นภาวะวิกฤตต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที
ปัจจัยที่สามารถเพิ่มโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ได้แก่
จะเห็นได้ว่าบางปัจจัยก็ไม่สามารถปรับแก้ได้ เช่น อายุหรือพันธุกรรมแต่ปัจจัยบางประการก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่นปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (ไม่ควรบริโภคอาหารที่มีโซเดียวสูง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์มากเกินไป หรือบริโภคผักและผลไม้น้อย) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ อีกทั้งในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหากออกกำลังกายก็สามารถช่วยลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีได้เช่นกัน) ลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ (มีการศึกษาพบว่าบุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหรือเท่ากับ 3 แก้วต่อวันจะมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ควรลดปริมาณการบริโภคต่อวันลง) และควรงดการสูบบุหรี่
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบได้ เช่น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงและทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมา ยิ่งไปกว่านั้นในยุคปัจจุบัน มลพิษทางอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ หากพบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษา จะเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา
ในส่วนถัดไป ผู้เขียนจะขอเล่าถึงความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะความดันโลหิตสูงครับ
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทั่วไปมักจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงมากอาจจะทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัดเจน เจ็บหน้าอก เป็นต้น
ดังนั้นการหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้เราสามารถรู้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคอื่น ๆตามมา เช่น โรคไต โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
ถ้าความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงมาก (มากกว่าหรือเท่ากับ 180/120 มิลลิเมตรปรอท) อาจทำให้เกิด
อาการเหล่านี้ตามมา
อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจง และมักจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าความดันโลหิตจะสูง
ถึงระดับที่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต หากพบว่าตนเองหรือบุคคลรอบข้างมีอาการเหล่านี้ร่วมกับความ
ดันโลหิตสูง ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที
วิธีที่จะตรวจวัดภาวะความดันโลหิตสูงคือให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์วัดความดันโลหิต ถึงแม้ว่าเราสามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตนเองโดยใช้เครื่องวัดความดันอัตโนมัติได้ แต่การให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประเมินมีความสำคัญ เนื่องจากจะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และภาวะที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยได้
โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุที่เริ่มมีความเสื่อมตามช่วงวัยมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น การดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดมีความสำคัญอย่างมาก ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์
มีการให้บริการอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ มีการตรวจวัดสัญญาณชีพพื้นฐาน (vital sign) เช่น ความดันโลหิต ของผู้สูงอายุ รวมถึงมีการสังเกตอาการ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุ พร้อมรายงานให้ญาติทราบทุกวัน
แนวทางการดูแลและให้บริการของศูนย์ คือ ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยดูแลด้วยความเข้าใจ และมี
นักโภชนาการช่วยในการกำหนดอาหารคำนึงถึงรสชาติและสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีการ
จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของทั้งร่างกายและจิตใจ ช่วยให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและมีความสุข
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ป่วยวินเนสต์
สรุป
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมีหลากหลายประการ บางปัจจัยไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ก็มีปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ แต่หากระดับสูงมากอาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ และหายใจลำบาก
การตรวจวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อการประเมินสุขภาพ หากมีอาการรุนแรงร่วมกับความดันโลหิตสูง ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมองเป็นต้น
ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1763
กบ.กันต์ นิมิตรประเสริฐ
อ้างอิง
Adnan, A., Hafsa, K., Ahsan, A. S., Summaiya, I., & Zarghoona, W. (2018). Prevalence of clinical signs and symptoms of hypertension: A gender and age-based comparison. Palliative Med Care, 5(2), 1-8.
Klatsky, A. L. (1996). Alcohol and hypertension. Clinica Chimica Acta, 246(1-2), 91-105.
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410