Highlight
ขึ้นชื่อว่าประเทศไทย ปกติทั้งปีก็จะมีอากาศที่ร้อนมากอยู่แล้ว แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าร้อนแบบจริงจัง จะพบว่าอากาศบ้านเราจะร้อนขึ้นมากๆ ร้อนแบบอบอ้าว ไม่ค่อยมีลมพัดผ่าน ร้อนจนหน้ามืด ร้อนจนปวดหัว อาจทำให้หมดสติได้ ไม่สามารถทำงานกลางแจ้งนานๆได้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะอาชีพที่ใช้กำลังแรงกายหนักในที่แจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง นักกีฬา
โดยทั่วไปร่างกายของคนเราจะมีการตอบสนองและการปรับตัวต่ออากาศร้อนได้แตกต่างกัน บางคนทนได้ บางคนทนไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าสงสัย คนที่ทนไม่ได้ไม่ใช่เพราะคนเหล่านั้นอ่อนแอ แต่นั่นเป็นเพราะระบบการทำงานในร่างกายคนเราเมื่อเจออากาศร้อนเป็นเวลานานร่างกายจะทำงานหนักขึ้น ทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ และเด็กจะมีความอ่อนไหวกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ไวกว่าคนทั่วไป
ใครที่บ้านมีผู้สูงอายุจะทราบดีอยู่แล้วว่าท่านจะขี้หนาว ขี้ร้อน ปรับตัวกับอุณภูมิได้ยากกว่าคนทั่วไป ในคนที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดควานดันโลหิตสูงที่ต้องทานยาบางชนิดก็ทำให้อาจเสี่ยงเป็นลมแดดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งเลยก็ตามในช่วงเวลาหน้าร้อน เราจะเริ่มพบข่าวที่น่าตกใจอย่างมากคือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนจัดหรือที่เรียกว่า โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตก
ฮีทสโตก (heatstroke) เกิดจากกลไกการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายล้มเหลว ไม่สามารถทำการระบายความร้อนได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นมากจนไม่อาจปรับตัวได้ (สูงกว่า 40 องศา) เสียสมดุลการทำงานภายในร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่รุนแรง
อาการเหล่านี้เป็นการตอบสนองของร่างกายที่ผิดปกติอันเกิดมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการ
ระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ ไม่มีเหงื่อออก อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูงนาน ๆ จะทำให้มีผลกระทบต่ออวัยวะของร่างกายทุกส่วน จนส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วอาจทำให้เสียชีวิต แต่ถ้าได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างรวดเร็วก็จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงเช่นกันจึงไม่ควรปล่อยให้มีอาการ
ของฮีทสโตกนานเกิน 2 ชั่วโมง
หลายคนอาจคิดว่า ตนเองหรือคนรอบข้างโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเฉย ๆ จะไม่มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดดหรือฮีทสโตก เพราะไม่ได้มีกิจกรรมกลางแจ้งหรือไม่ได้ใช้ร่างกายหักโหมภายใต้อากาศร้อน นั่นอาจไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะแค่เผชิญอากาศร้อนต่อเนื่อง อยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือการมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการปรับตัวกับอากาศร้อน ก็ทำให้เกิดฮีทสโตกได้
ดังนั้นฮีทสโตกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้สูงอายุผู้ที่ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้พิการที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะเกิดฮีทสโตกจนถึงแก่ชีวิต นั่นเป็นเพราะร่างกายที่ไม่สามารถปรับตัวได้กับอุณหภูมิ
ได้ การมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือการทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถทนร้อนได้ จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฮีทสโตกกว่าช่วงวัยอื่น ๆ
ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง นั่นก็เพื่อที่จะได้สังเกตอาการผิดปกติได้รวดเร็ว
มากขึ้น
จัดให้ผู้สูงอายุอยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก
หมั่นตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้สูงอายุให้ถี่ขึ้น (อุณหภูมิร่างกายไม่ควรมากเกิน 37 องศา)
งดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบายและระบายความร้อนได้ดี เสื้อผ้าควรหลวม ๆ ไม่คับแน่นจนเกินไป
ดื่มน้ำบ่อย ๆ
ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ เพราะเมื่อร่างกายต้องเผชิญกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน จะทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักมากขึ้น
หากมีอาการเพลีย กระหายน้ำ อ่อนแรงหรือเป็นลม ให้รีบปรับอุณหภูมิให้เย็นขึ้นทันทีโดย พาเข้าร่ม เช็ดตัวระบายความร้อน ดื่มน้ำเย็น
เมื่อเริ่มสังเกตได้ว่าผู้สูงอายุหรือคนใกล้ตัวเกิดอาการฮีทสโตกผู้คนรอบข้างสามารถช่วยปฐมพยาบาลอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น
ฮีทสโตกเป็นโรคที่มากับอากาศร้อนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในบ้านเรา ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงที่สุดอันเนื่องมาจากระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายป้องกันได้โดยดื่มน้ำให้เพียงพอ อยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก และเข้าใจถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ทำได้โดยง่าย คือเข้าที่ร่มยกขาสูงเช็ดตัวระบายความร้อนเพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฮีทสโตกโรคที่มากับหน้าร้อนได้อย่างทันท่วงที
เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096
กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล
เอกสารอ้างอิง Epstein, Y., & Yanovich, R. (2019). Heatstroke. New England Journal of Medicine, 380(25), 2449-2459. อรัณย์ ภัค พิทักษ์ พง ษ์. (2021). การ ประเมิน อาการ เสี่ยง เกิด โรค ฮี ท ส โตรก ของ พนักงาน ก่อสร้าง งาน โยธา กรณี ศึกษา: บริษัท รับ เหมา ก่อสร้าง ถนน จังหวัด พะเยา. วารสาร วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี, 1(1), 37-48. ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต : Rama Square (Better to know) โดย อ. นพ.กานต์ สุทธาพานิช ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน/