สมองเสื่อมภาวะใกล้ตัวผู้สูงอายุ รู้ทัน ฟื้นฟูได้

หมวดหมู่:
February 24, 2023
แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:
  • ภาวะสมองเสื่อมทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสามารถใช้ยาร่วมกับการบำบัดฟื้นฟูโรคสมองเสื่อมได้
  • การฟื้นฟูสมองเสื่อมด้วยการบำบัดดูแลไม่ให้อาการแย่ลงคือสิ่งสำคัญที่สุด

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่ใช้อธิบายการลดลงของกระบวนการทำงานและการรับรู้ของสมอง การทำงานที่เสื่อมถอยลงของสมองเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อมในทุก ๆ ด้าน เช่น ความจำเพื่อการใช้งาน การคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม 

อาการที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ว่าผู้สูงอายุเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม

  • หลงทางที่ใช้เดินทางบ่อย ๆ
  • ลืมของใช้ประจำตัว
  • พูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ
  • มีพฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงไป
  • ทักษะความสามารถที่เคยทำได้ดี โดยไม่ต้องคิดวางแผนก็เริ่มทำไม่ได้ อาทิ การใช้โทรศัพท์มือถือ การทำอาหาร เป็นต้น 

ปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น พันธุกรรม โรคชรา การบาดเจ็บภายในสมอง ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด กลุ่มอาการทางจิตเวช ผู้ที่ขาดกิจกรรมทางสังคมหรือขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การสูบบุหรี่หรือการทานยาหลายขนานมากเกินไปก็สามารถนำไปสู่การลดลงของความรู้ความเข้าใจจนสมองเสื่อมได้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ลุกลาม หมายความว่าจะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรงแต่สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการและใช้การบำบัดรักษาปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยได้

ในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยสมองเสื่อมมากขึ้นในทุก ๆ ปี การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของโรค อาการที่แสดง ยารักษาโรคสมองเสื่อม และแนวทางในการฟื้นฟูสมองเสื่อม ในสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเพิ่มจำนวนมากขึ้นนี้จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อญาติ และครอบครัวของผู้ป่วย ในขณะที่การรักษาทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญ การฟื้นฟูและการดูแลอย่างเหมาะสมก็มีส่วนช่วยชะลอการดำเนินของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วยเช่นเดียวกัน โดยบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม พร้อมแนวทางการดูแลและฟื้นฟูที่ครอบคลุม เพื่อให้ครอบครัวสามารถรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมด้วยการใช้ยารักษาและการฟื้นฟูสมองเสื่อม

ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีความจำเป็นให้ญาติหรือผู้ดูแลช่วยเหลือในทุกด้านๆของการดำเนินชีวิต เป้าหมายหลักของการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมคือการชะลอการดำเนินของโรคและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งสามารถทำได้โดยการผสมผสานระหว่างการใช้ยารักษาโรคสมองเสื่อม และการบำบัดการฟื้นฟูสมองเสื่อม โดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต 

1. ยารักษาโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมที่สามารถให้ยาได้ ได้แก่ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia) โรคสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease with dementia) มียาหลายชนิดที่เป็นยารักษาโรคสมองเสื่อม โดยออกฤทธิ์ในการปรับปรุงการทำงานของสมองหรือชะลอการลุกลามของโรค ช่วยจัดการกับอาการและปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้ จำเป็นต้องใช้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ แพทย์เฉพาะทางในการหาสาเหตุของสมองเสื่อมเพื่อการให้ยาที่เหมาะสม

2. การฟื้นฟูสมองเสื่อมโดยการบำบัด

นอกจากการใช้ยาแล้ว การบำบัดยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของการฟื้นฟูสมองเสื่อม มีตัวเลือกการบำบัดที่หลากหลาย รวมถึงการบำบัดด้วยการกระตุ้นการรับรู้ (Cognition-oriented) ซึ่งช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมอง เช่น เล่นเกมฝึกรับรู้วัน เวลา สถานที่ กิจกรรมกระตุ้นความจำจากสถานที่ สิ่งของ ผู้คนที่เป็นคนดัง ส่งเสริมด้านคำศัพท์ สัตว์ สิ่งของรอบตัว กิจกรรมทางกายต่างๆ อาทิ การร้องเพลง การเต้นรำ การเต้นแอโรคบิก เป็นต้น รวมถึงการทำจิตบำบัด ซึ่งจะช่วยจัดการกับอาการทางพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยสมองเสื่อม เช่น อาการตื่นตระหนก พฤติกรรมก้าวร้าว สอนการแสดงออกทางอารมณ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม > 3 เกมแนะนำฝึกสมองผู้สูงอายุ

การบำบัดในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และสัตว์เลี้ยงบำบัด นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยบ่งชี้ว่าการรักษาทางเลือก เช่น การฝังเข็มและการรักษาด้วยสมุนไพร อาจมีประสิทธิผลในการจัดการอาการของโรคสมองเสื่อม

3. วิธีการชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม

นอกจากการรักษาแล้ว การชะลอการเกิดของโรค และชะลอการลุกลามของโรคก็เป็นการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ควรทำอย่างยิ่ง  สามารถทำได้โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ ในฐานะของญาติและครอบครัวของผู้ป่วยควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าสังคมและเสริมกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เหล่านี้สามารถช่วยชะลอการลุกลามของโรค และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมวินเนสต์ Winest

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ Winest เน้นการบำบัด การฟื้นฟูสมองเสื่อม โดยมีการให้บริการจากสหวิชาชีพ อันได้แก่ การให้บริการทางกายภาพบำบัดเพื่อการออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายอย่างเหมาะสม ออกแบบโดยเฉพาะให้เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละคน มีพยาบาลวิชาชีพที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคสมองเสื่อมในเบื้องต้น บริหารจัดการยาให้ผู้ป่วยทานตรงเวลา ดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีแพทย์เพื่อติดตามอาการในแต่ละระยะของโรค มีนักกำหนดอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีนักกิจกรรมบำบัด ให้การออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมองเสื่อม โดยกระตุ้นระบบการรู้คิด ออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นความจำและการรับรู้ผ่านการเล่นอย่างสนุกสนาน จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อปรับปรุงและชะลอการลุกลามของโรคมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยสรุปแล้ว การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุมซึ่งผสมผสานระหว่างการใช้ยารักษาโรคสมองเสื่อม การบำบัดการฟื้นฟูสมองเสื่อม และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สิ่งสำคัญคือต้องระลึกไว้เสมอว่าในปัจจุบันยังคงไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้ภาวะสมองเสื่อมหายขาดได้ แต่สามารถฟื้นฟูและรักษาตามอาการได้ และผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อพัฒนาแผนการรักษาเฉพาะบุคคลที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละคน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อมเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1096

กบ.กอข้าว เพิ่มตระกูล

เอกสารอ้างอิง
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. (2021). ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม, 15(37), 392-398.
บทความก่อนหน้า >
บทความถัดไป >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

5 วิธีเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ควรเลือกที่ไหน ราคาเท่าไร

August 14, 2024
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คือสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุคอยให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง วัตถุประสงค์หลักของศูนย์เหล่านี้คือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องด้วยประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงทำให้ลูกหลานไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้เต็มที่ และผู้สูงอายุบางท่านที่ต้องการการดูแลเฉพาะทางมากขึ้น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพจะมีการให้บริการที่ครอบคลุมทั้งด้านการดูแลสุขภาพ โภชนาการ กิจกรรมนันทนาการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกี่ประเภท ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก โดยแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะดังนี้ 1. ศูนย์ดูแลระยะยาว (Long-term Care)    – เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน    – มีบริการพักอาศัยแบบเต็มเวลา    – มีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง    – เน้นการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ    – มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตหลากหลาย 2. ศูนย์ดูแลแบบไปกลับ (Day Care)    – ให้บริการดูแลในช่วงกลางวัน และผู้สูงอายุกลับบ้านในตอนเย็น    – เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน    – มีกิจกรรมสันทนาการและการฝึกทักษะต่างๆ    – ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ดูแลหลักในช่วงกลางวัน    – ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุ […]
Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down