หัวข้อ รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความพิการและการเสียชีวิตที่สำคัญทั่วโลก แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงก็อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต และลดผลกระทบอาการของโรคได้ ดังนั้นการสังเกตอาการและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแล้วบางรายอาจมีอาการหรือความผิดปกติบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด ปัญหาด้านการรู้คิด ความจำ ความเครียด หรือซึมเศร้า อาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการกำเนินชีวิตอย่างที่เคยทำได้หรือทำได้อย่างยากลำบากส่งผลให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองต้องมีครอบครัว หรือผู้ดูแลให้การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในระยะยาว (long-term care) ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองดูแลอย่างไร ระยะแรกของการฟื้นตัวครอบครัวควรให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัวเองเป็นสำคัญ กำลังใจจากคนรอบข้างจะช่วยให้ผู้ป่วยมีแรงใจ และผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ การดูแลผู้ป่วยให้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ จำเป็นต้องให้ครอบครัวหรือญาติช่วยจัดท่าทางการนอนบนเตียงและเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับคอยสังเกตอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด *เพิ่มรูปการจัดท่านอนบนเตียง แม้จะพ้นระยะวิกฤตไปแล้วการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากออกจากโรงพยาบาลก็ยังเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่ากัน ดังนั้นหากมีการเตรียมความพร้อมรับมือที่ดีกับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเมื่อได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้ว ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 7 ข้อ รับมือคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 1. จิตใจ (mentality) หลังจากเกิดโรคผู้ป่วยบางรายอาจมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายจากสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงไปหรือบางรายมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากยอมรับไม่ได้ ครอบครัวจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการให้กำลังใจ และต้องเข้าใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง ครอบครัวควรแสดงความรัก ความห่วงใยผ่านคำพูดสีหน้าสายตา และการสัมผัสกับผู้ป่วยเพื่อแสดงออกว่าครอบครัวยังรัก พร้อมเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ และควรหลีกเลี่ยงการตำหนิ นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ชอบโดยเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำเอง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าสามารถทำได้ อย่างเป็นอิสระและมีความสุข เช่น การดูภาพยนตร์ร่วมกันออกไปเที่ยวกับครอบครัว […]
Read More