วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 สำหรับผู้สูงอายุ

หมวดหมู่:
June 27, 2023
แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:
  • องค์กรอนามัยโรค (WHO) จัดให้ฝุ่น PM 2.5 เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 
  • ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดที่เล็กมากจึงทำให้สามารถสูดดมเข้าไปได้ลึกถึงปอด บางส่วนอาจเข้าไปสู่กระแสเลือด หากมีปริมาณมาก ๆ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
  • ในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 เราควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง 
  • หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากที่ป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 และแว่นตาตลอดเวลา เพราะฝุ่น PM 2.5 อาจทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือตาแห้งได้

หัวข้อบทความ


ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ปัจจุบันหากกล่าวถึงฝุ่น PM 2.5 คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อนี้ ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากสูดดมเข้าไปมาก ๆ สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างร้ายแรง ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ควันจากรถยนต์ ฝุ่นจากการก่อสร้าง การเผาป่า ควันจากบุหรี่ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งสิ้น

นอกจากนี้สภาพอากาศเองก็มีผล เพราะหากมีลมพัดผ่าน ฝนตก ก็จะช่วยบรรเทาฝุ่นได้ แต่เนื่องจากตามตัวเมืองใหญ่ ๆ อย่างกรุงเทพมหานคร มักมีตึกสูงจำนวนมาก ทำให้การพัดผ่านของลมเป็นไปได้ยาก ทำให้ฝุ่นเกิดการสะสมตัวมากขึ้นนั่นเอง 

         องค์กรอนามัยโลก (WHO) ให้ค่าเฉลี่ยว่าหากมีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถือว่าเป็นอันตราต่อสุขภาพ โดยในไทยได้แบ่งดัชนีคุณภาพอากาศเป็น 5 ระดับ

  • สีฟ้า คุณภาพอากาศดีมาก สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยวได้
  • สีเขียว คุณภาพอาอาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยวได้ตามปกติ
  • สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง บุคคลทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก คัน ระคายเคืองตา ให้ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • สีส้ม คุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นต่าง ๆ เช่น แมสที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5 แว่นตา และควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เฝ้าสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์
  • สีแดง คุณภาพอากาศมีผลต่อสุขภาพ งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์ทันที

สามารถเช็กคุณภาพอากาศได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th/webV3/#/Home

ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

ฝุ่นPM 2.5 ส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย แต่ในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กที่มีอายุต่ำว่า 10 ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือกลุ่มที่มีโรคประจำตัว กลุ่มโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ผลกระทบต่อระแบบต่าง ๆ คือ

  • ส่งผลต่อทางเดินหายใจและปอด หากมีการสะสมในปริมาณมากก็เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหอบหืดได้ และหากไม่แก้ไข ปล่อยไว้ระยะยาวก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน ในกลุ่มคนที่มีโรคทางเดินหายใจอาจทำให้โรคกำเริบเฉียบพลันได้   
  • ส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน หากเป็นที่สมองก็เป็นต้นเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นำไปสู่อัมพฤกษ์อัมพาตได้ หากเกิดที่หัวใจอาจทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน 
  • ส่งผลกระทบต่อสมอง หากสะสมในสมองมากเกินไป จะไปกระตุ้นการหลั่งสารอักเสบต่าง ๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายเมื่อสัมผัสฝุ่น PM 2.5

  • ระคายเคืองตา ตาแดง ใต้ตาช้ำหรือมีน้ำตาไหลบ่อย ๆ
  • ระคายเคืองผิวหนัง คัน เป็นตุ่มหรือผื่นแดงกระจายไปทั่ว
  • เป็นลมพิษตามข้อพับ ขาหนีบ 
  • รู้สึกคันโพรงจมูก หรือแน่น ๆ มีน้ำมูกแบบใส 
  • ไอ จามบ่อย ๆ รวมไปถึงแน่นหน้าอก
  • ตัวร้อน มีไข้ 

วิธีป้องกันผู้สูงอายุให้ห่างไกลฝุ่น PM 2.5 ของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Winest กรุงเทพมหานคร

เนื่องจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ตั้งใจอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงมีมาตรการป้องกันผู้สูงอายุจากฝุ่น PM 2.5 โดยตรวจเช็คสภาพอากาศทุกเช้าว่าอยู่ในระดับสีอะไร เพื่อจัดกิจกรรมประจำวันให้เหมาะสม หากในวันนั้นสภาพอากาศมีฝุ่นในปริมาณมาก ไม่เหมาะกับทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทีมงานจะเปลี่ยนเป็นจัดกิจกรรมภายในอาคารแทน ผู้สูงอายุท่านใดต้องการออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งต้องสวมแมสทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5

นอกจากนี้ภายในห้องพักยังจัดให้มีเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ไว้ในแต่ละห้อง จัดสถานที่ให้มีการถ่ายเท ไหลเวียนของอากาศได้เพียงพอ เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกวัน ทำความสะอาดห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางตลอด ดูแลกิจวัตรประจำวันเรื่องการอาบน้ำ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 จัดให้ผู้สูงอายุได้ทานอาหารที่เหมาะสม มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาด และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

ร่วมกับพยาบาลประจำศูนย์และผู้ดูแลคอยหมั่นสังเกตอาการของผู้สูงอายุ หากมีอาการคันตามผิวหนัง หายใจไม่ออก ระคายเคืองตา หรืออาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พยาบาลจะให้การรักษาในเบื้องต้น หากอาการไม่ดีขึ้น จะพาผู้สูงอายุพบแพทย์ตามลำดับ

โดยสรุปแล้วฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกคนควรหันมาใส่ใจเรื่องการดูแลตัวเอง ให้สัมผัสกับ PM 2.5 ให้น้อยที่สุด ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลที่อยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น PM 2.5 เยอะ ควรตรวจสอบสถานการณ์ PM 2.5 ทุกวัน สวมแมสทุกครั้งเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงคอยสังเกตอาการของตนเองและคนใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติและไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะ PM 2.5 มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ในระยะยาว

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

กบ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

เอกสารอ้างอิง
https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/DOE_PM2.5_01.pdf
https://hia.anamai.moph.go.th/webupload/12xb1c83353535e43f224a05e184d8fd75a/filecenter/PM2.5/book103.pdf

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down