7 สิ่งที่ต้องคำนึง เมื่อในครอบครัวมีผู้ป่วยติดเตียง

February 8, 2023
แชร์บทความกับเพื่อนบนโซเชียล:

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์ (Winest)

  • พลิกตะแคงตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • ทำกายภาพบำบัดพื้นฐานทุกวันเพื่อป้องกันข้อติด
  • ทำความสะอาดร่างกายอย่างถูกวิธี ลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ดูแลความเรียบร้อย และทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดตัวผู้ป่วย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายให้อาหารทางจมูก ท่อหลอดลมที่คอ
  • มีกิจกรรมศิลปะอย่างง่ายให้ทำที่เตียง สำหรับท่านที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เหงา
  • ทำงานร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและถูกต้องที่สุด

หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่าผู้ป่วยติดเตียง และอาจเข้าใจว่าผู้ป่วยติดเตียงต้องเป็นผู้สูงอายุเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วคำว่าผู้ป่วยติดเตียงสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมอย่างมาก ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่ปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น จากโรคประจำตัว จากการผ่าตัดใหญ่ การประสบอุบัติเหตุ หรือจากโรคชรา เป็นต้น โดยผู้ป่วยติดเตียงแต่ละรายจะมีอาการที่แตกต่างกัน บางรายมีการรับรู้สติดี สามารถสื่อสารได้ ขยับตัวเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ไม่สามารถดูแลหรือทำกิจวัติประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง ซึ่งการติดเตียงนี้เอง สามารทำให้เกิดโรค หรือปัจจัยแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย และยังนำไปสู่การเสียชีวิตได้อีกด้วยหากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวินเนสต์จึงได้ทำศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงขึ้น ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นศูนย์ย่อยภายในของวินเนสต์ เพื่อดูแลเฉพาะกลุ่มให้ญาติได้มั่นใจว่าผู้ป่วยติดเตียงที่เข้าพักที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงของวินเนสต์ได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพราะการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีข้อควรระวัง และปัจจัยหลายด้านที่จำเป็นต้องคำนึงถึง เพื่อทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

7 สิ่งที่ต้องคำนึง สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

  • ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • ดูแลเรื่องความสะอาด 
  • ป้องกันเรื่องข้อติด
  • อาหาร และภาวะกลืนลำบาก
  • คำนึงถึงจิตใจของผู้ป่วย
  • สิ่งแวดล้อม
  • ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล

1. ป้องกันการเกิดแผลกดทับ

โดยปกติแล้วคนเราจะมีการขยับท่าทาง ร่างกายอยู่เสมอเมื่อยืน นั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน แต่ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง หรือถ้าพอเคลื่อนไหวได้ก็เคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลกดทับตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ ระยะแรกอาจเป็นเพียงแผลถลอกแต่หากทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดแผลกดทับขนาดใหญ่ได้ เพราะฉะนั้นการพลิกตะแคงตัว การจัดท่า จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

อ่านเพิ่มเติม > วิธีการดูแลแผลกดทับ

ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงของวินเนสต์ จึงมีมาตราการพลิกตะแคงตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง พร้อมตารางการจัดท่าพลิกตะแคงตัว และมีผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีแผลกดทับ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงของวินเนสต์มีบริการทำแผล และรายงานผลให้ญาติทราบตามลำดับ

2. ดูแลเรื่องความสะอาด

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลความสะอาดอย่างมาก ความสะอาดสามารถลดปัจจัยเสี่ยงแทรกซ้อนได้

ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดตัวผู้ป่วย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายให้อาหารทางจมูก ท่อหลอดลมที่คอ เป็นต้น ทีมบริบาลประจำศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์จึงต้องหมั่นทำความสะอาด และสังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น สายปัสสาวะเกิดตะกอน ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะปนเลือด ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

ในผู้ป่วยที่ใส่แพมเพิร์ส นักบริบาลประจำศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์จะตรวจเช็คและเปลี่ยนตามเวลา หากมีการขับถ่ายก่อนเวลาจะทำความสะอาดเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ทันที เพราะการนอนทับปัสสาวะ อุจจาระ เป็นเวลานานทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้

3. ป้องกันเรื่องข้อติด

ทีมบริบาลประจำศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์ทุกคนได้รับการอบรมเรื่องกายภาพบำบัดพื้นฐาน (การขยับข้อต่อ) จากนักกายภาพบำบัดวิชาชีพประจำศูนย์ เพื่อพาผู้ป่วยในศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเคลื่อนไหว ขยับข้อต่อในทุก ๆ วัน เพราะการนอนติดเตียงเป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว สามารถทำให้เกิดภาวะข้อติดได้ ส่งผลให้ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีจากอาการปวด และอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา

4. อาหาร และภาวะกลืนลำบาก

ผู้ป่วยติดเตียงมีทั้งที่สามารถทานได้เองทางปากและต้องใส่สายอาหาร เนื่องจากมีภาวะกลืนลำบาก ผู้ป่วยติดเตียงทั้ง 2 กลุ่มจำเป็นต้องได้รับอาหารในอัตราส่วนที่เพียงพอเหมาะสม พลังงานที่ใช้ต่อวันของผู้ป่วยติดเตียงน้อยกว่าคนปกติ เนื่องจากไม่มีกิจกรรมระหว่างวัน ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์จึงมีบริการคำนวณโภชนาการให้ผู้ป่วยรายบุคคลโดยนักกำหนดอาหารวิชาชีพ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่าน เพราะการได้รับโภชนาการที่เหมาะสมเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อสภาพร่างกาย หากน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนแรง หากมากเกินไปทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน

นอกจากนั้นหากผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบาก หรือใส่สายอาหารและมีความต้องการทานอาหารทางปาก ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์มีนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งเป็นนักวิชาชีพที่สามารถฝึกกลืนได้อย่างถูกต้อง เพราะหากทำการฝึกโดยบุคคลที่ไม่เชี่ยวชาญ หรือผู้ป่วยไม่รับการฝึกแต่ฝืนทานอาหารเอง อาจเสี่ยงต่อการสำลักและนำมาซึ่งการติดเชื้อในปอด หรือแย่กว่านั้นเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจอุดตันหลอดลมและเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยติดเตียงบางรายเมื่อได้กลับมาทานอาหารทางปากอีกครั้งแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้รู้สึกดีและมีความสุขมากขึ้น

5. คำนึงถึงจิตใจของผู้ป่วย

อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึงไม่แพ้เรื่องของสภาพร่างกายคือ ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ การที่ต้องนอนเตียงเป็นเวลานาน ๆ ไม่มีกิจกรรมทำ ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงเกิดภาวะเบื่อหน่าย ท้อแท้ใจ หรือบางรายอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ทางทีมบริบาลของศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์เข้าใจถึงปัญหานี้ ในแต่ละวัน ทีมบริบาลจึงมีกิจกรรม การพูดคุย กิจกรรศิลปะ หรือกิจกรรมทำอาหารง่าย ๆ ให้ผู้ป่วยที่ยังพอเคลื่อนไหวร่างกายได้ร่วมกิจกรรมเพื่อคลายความเบื่อหน่าย และความเครียดลง

6. สิ่งแวดล้อม

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงของวินเนสต์มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยติดเตียง ทั้งในเรื่องแสงไฟ อุณหภูมิ สภาพแวดล้อมภายในห้อง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น เตียงลม เครื่องผลิตออกซิเจน เก้าอี้นั่งอาบน้ำ รวมไปถึงโทรทัศน์ที่เป็น Smart TV เพื่อง่ายต่อการควบคุม อีกทั้งมีกริ่งเรียกพนักงานไว้ข้างเตียงผู้ป่วยแต่ละท่านเพื่อให้สะดวก รวดเร็วต่อการเรียกทีมบริบาล

7. ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล

ภาวะเหนื่อยล้าในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่จำเป็นต้องตระหนักถึงอย่างมาก จากงานวิจัยพบว่าประมาณ 56.8% ของผู้ดูแลเกิดภาวะเหนื่อยล้าหรือที่เรียกว่าหมดไฟ (Caregiver burnout) ภายในระยะเวลา 3 ปี มากกว่านั้นผู้ดูแลบางคนเกิดมีปัญหาทางด้านร่างกาย และจิตใจร่วมด้วย เนื่องจากนอนไม่เป็นเวลา ไม่มีเวลาส่วนตัว เจอความเครียด ความกดดันซ้ำ ๆ ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน และความสามารถในการขับขี่ลดลง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีมาตรฐานจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ถูกหลัก และรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลไว้ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องกังวล หรือเกิดรู้สึกผิดต่อญาติหรือผู้ป่วยติดเตียงว่าไม่ได้ดูแลท่านด้วยตนเองอย่างดีที่สุด

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีปัจจัย รายละเอียดมากมายที่ต้องปฏิบัติและคำนึงถึง ทั้งในเรื่องของสภาวะร่างกาย สภาพจิตใจ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมเองก็มีผลต่อตัวผู้ป่วย มากกว่านั้นการที่บุคคลในครอบครัวเป็นคนดูแลผู้ป่วยเอง และจำเป็นต้องดูแลเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะเหนื่อยล้า ความเครียด ความกดดัน 
ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เรียกได้ว่าเมื่อมี 1 คนป่วย คนในครอบครัวก็อาจป่วยตาม นำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายใจของผู้ดูแล การตัดสินใจพาผู้ป่วยมารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ครบถ้วนในทุก ๆ ด้านที่จำเป็น อีกทั้งญาติผู้ดูแลยังไม่รู้สึกเครียด กดดัน หรือเหนื่อยล้าจนเกินไป และสบายใจที่ได้เลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่าถูกต้องถูกหลัก

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงวินเนสต์เป็นอีกหนึ่งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ ทั้ง แพทย์ พยาบาล นักกกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักกำหนดอาหาร และทีมบริบาล

มั่นใจได้ว่า…

“เราจะดูแลคนที่คุณรักให้ดีที่สุด”

– คุณ ณัฐพัชร์ –

เขียนโดย : นักกิจกรรมบำบัด ก.บ.1115

กบ.ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

เอกสารอ้างอิง
1.	Inge Hansen Bruun, Katrine Oertel Frederiksen & Birgitte Nørgaard (2022) Attendance of Physical and Occupational Therapists Improves Older Hospitalized Adults’ Activity Levels, Physical & Occupational Therapy In Geriatrics, DOI: 10.1080/02703181.2022.2116523
2.	Connors, MH, Seeher, K, Teixeira-Pinto, A, Woodward, M, Ames, D, Brodaty, H. Dementia and caregiver burden: A three-year longitudinal study. Int J Geriatr Psychiatry. 2020; 35: 250– 258. https://doi.org/10.1002/gps.5244
บทความก่อนหน้า >
บทความถัดไป >

บทความเกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่คุณอาจสนใจ

Copyright 2024 © Winest - All rights reserved.
crossmenuchevron-down