ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากรทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” หรือ “aging society” ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในสังคม สังคมผู้สูงอายุ (aging society) คือ สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด 2. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด 3. การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged Society): มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อหลายด้านของสังคม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เพราะการลดลงของกำลังแรงงาน การเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลังในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านสังคม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว ความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และด้านสาธารณสุข เพราะความต้องการบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. อัตราการเกิดที่ลดลง เพราะปัจจุบันค่านิยมในการมีครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ต่างมีแนวโน้มแต่งงานช้าลงและมีลูกน้อยลง ต้องการตั้งตัวให้ได้ก่อนแล้วจึงค่อยมีลูก โดยหลายคนเลือกที่จะไม่มีลูกหรือมีลูกเพียงคนเดียว ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ค่าใช้จ่ายต่างๆ สูงมากขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนชะลอการมีลูก 2. การพัฒนาทางการแพทย์ ผู้สูงอายุต่างก็มีอายุยืนยาวมากขึ้น เนื่องด้วยความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่างๆวิทยาการทางแพทย์การค้นพบวิธีการรักษาโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น มะเร็ง […]
Read More